บทบาทของทหารในการพัฒนาชุมชน กรณีศึกษา ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พล.ร.6
คำสำคัญ:
บทบาท ทหาร การพัฒนาบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาบทบาทของทหารบทบาทของทหารในการพัฒนาชุมชน กรณีศึกษา ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พล.ร.6 2. ศึกษาข้อเสนอแนะต่อบทบาทของทหาร กรณีศึกษา ค่ายสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พล.ร.6 เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยมีกลุ่มเป้าหมาย 4 กลุ่ม คือ 1. นายทหารชั้นสัญญาบัตร จำนวน 3 คน 2. นายทหารชั้นประทวน จำนวน 5 คน 3. ประชาชน จำนวน 6 คน และ 4. ผู้นำหมู่บ้าน จำนวน 2 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 16 คน แล้วนำข้อมูลที่รวบรวมได้จากเอกสาร วรรณกรรม และแบบสัมภาษณ์มาวิเคราะห์แบบเชิงเนื้อหา ผลการศึกษาประเด็นบทบาทของทหารบทบาทของทหารในการพัฒนาชุมชน พบว่า บทบาทของทหารที่มีส่วนเข้าไปช่วยพัฒนาชุมชนที่อยู่ภายในพื้นที่ของเขตรับผิดชอบ ซึ่งทหารเข้าไปมีบทบาทในการช่วยเหลือเมื่อคนในชุมชนหรือประชากรภายในชุมชนได้รับความเดือดร้อน ทั้งด้านสิ่งอุปโภค บริโภคและด้านต่าง ๆ อีกทั้งยังเข้าไปช่วยส่งเสริมการพัฒนาอาชีพด้านต่าง ๆ และการที่ทหารมีบทบาทเช่นนี้ก็เกิดผลดีต่อชุมชน ประเด็นข้อเสนอแนะต่อบทบาทของทหาร พบว่า ทหารที่มีบบาทในการเข้าไปช่วยเหลือประชาชนภายในพื้นที่ของชุมชนของทหาร โดยการให้ความช่วยเหลือทางด้านกายภาพ เช่น สิ่งของหรือเป็นสิ่งที่ประชาชนภายในชุมชนต้องการ เพื่อปฏิบัติการที่เป็นไปอย่างราบรื่น จะต้องมีการประสานงานกันมีความรู้ความเข้าใจในแผนงานที่จะปฏิบัติ อีกทั้งการอาสาไปปฏิบัติงานในชุมชนนั้นทหารต้องมีจิตใจที่จะต้องให้การช่วยเหลือประชาชนได้อย่างเต็มที่ส่วนมาก
References
ธันฐกรณ รื่นกฤษรักษ และเพ็ญประภา ภัทรานุกรม. (2561). การจัดการภัยพิบัติน้ําทวมโดยใชชุมชนเปนฐาน.
วารสารรมพฤกษ มหาวิทยาลัยเกริก.
ปรัชญา ฮามไธสง, กมลพร กัลยาณมิตร, สถิตย นิยมญาติ และ ทัศนีย ลักขณาภิชนชัช. (2564). ประสิทธิผลของ
การนํานโยบายไปปฏิบัติ กรณีศึกษา การปฏิบัติการทางทหารเพื่อบรรเทาภัยพิบัติ. วารสารครุศาสตร
ปริทรรศน.
พิทยา ราชะพริ้ง. (2560). บทบาทของศูนยบรรเทาสาธารณภัยกองทัพภาคที่ 3 ในทศวรรษหนา.
กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยการทัพบก.
พัชราภรณ หุนดี. (2558). บทบาทของทหารในการพัฒนาชนบทตามการรับรูและความ คาดหวังของประชาชน
กรณีศึกษา ทหารสังกัดสํานักงานพัฒนาภาค 1 หนวย. ชลบุรี.
โภคา จอกลอย. (2563). แนวทางการพัฒนาการปฏิบัติงานของหนวยมณฑลทหารบกที่ 33 ในการสนับสนุนการ
ชวยเหลือประชาชนเมื่อเกิดภัยพิบัติในพื้นที่. เชียงใหม.
ภัสนันท รัดกลาง และ นิเทศ ตินณะกุล. (2559). ปจจัยที่สงผลตอการนํานโยบายการพัฒนาและชวยเหลือ
ประชาชนไปฏิบัติของหนวยบัญชาการทหารพัฒนา. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
รุจ กสิวุฒิ. (2557). การพัฒนาบทบาทหนวยบัญชาการทหารพัฒนาในการพัฒนาชนบทตามแนวพระราชดําริ.
กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
ศรีศักดิ์ สุวรรณธรรมมา. (2560). แนวทางการพัฒนาบุคลากรทองถิ่น : กรณีศึกษา เทศบาลนครนนทบุรี จังหวัด
นนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ศูนยศึกษายุทธศาสตร สถาบันวิชาการปองกันประเทศ. (2561). บทบาทของหนวยบัญชาการทหารพัฒนาเพื่อ
สนับสนุนงานความมั่นคง. กรุงเทพมหานคร.
อัยรวี วีระพันธพงศ. (2560). การจัดการทรัพยากรรวมของชุมชนทองถิ่น : กรณีศึกษา ชุมชนคลองลัดมะยม
แขวงบางระมาด เขตตลิ่งชัน กรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.