การตั้งชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ปลัง บ้านสันเจริญ ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จันทร์ จังหวัดเชียงราย

ผู้แต่ง

  • ปานปั้น ปลั่งเจริญศรี วิทยาลัยนาฏศิลปสุโขทัย
  • ชนัยชนม์ ปลั่งเจริญศรี คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

คำสำคัญ:

การตั้งชื่อ กลุ่มชาติพันธุ์ ปลัง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาลักษณะการตั้งชื่อ ที่มาและภาษาในการตั้งชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ปลัง หมู่บ้านสันเจริญ ตำบลป่าตึง อำเภอแม่จันทร์ จังหวัดเชียงราย โดยเก็บข้อมูลรายชื่อจากทะเบียนราษฎร์ บ้านสันเจริญ และการสัมภาษณ์ รวมจำนวน 100 รายชื่อ ผลการศึกษาพบว่า ลักษณะการตั้งชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ปลังแบ่งออกเป็น 4 ลักษณะ ได้แก่ 1. การตั้งชื่อตามลำดับการเกิดและชื่อบรรพบุรุษ 2. การตั้งชื่อตามวันเกิด 3. การตั้งชื่อตามลักษณะเด่นของบุคคล และ 4. การตั้งชื่อตามบุคคลที่ให้ความเคารพนับถือ ส่วนที่มาในการตั้งชื่อพบว่า กลุ่มบุคคลภายในครอบครัวของกลุ่มชาติพันธุ์ปลังมีบทบาทในการตั้งชื่อมากกว่ากลุ่มบุคคลภายนอก โดยชื่อที่ตั้งส่วนใหญ่จะเป็นชื่อที่บิดาเป็นฝ่ายตั้งให้ รองลงมาคือมารดา ตา ยาย ลุง และป้า ทั้งนี้การตั้งชื่อส่วนใหญ่จะให้ฝ่ายบิดาเป็นผู้ตั้งชื่อให้มากกว่า ซึ่งสอดคล้องกับลักษณะการตั้งชื่อที่จะนำชื่อของบรรพบุรุษทางฝ่ายบิดา มาตั้งเป็นชื่อของบุตรหลาน สิ่งนี้สะท้อนให้เห็นถึงค่านิยมความเป็นใหญ่ของเพศชายในกลุ่มชาติพันธุ์ปลัง นอกจากนี้ภาษาที่ใช้การตั้งชื่อพบว่า กลุ่มชาติพันธุ์ปลังจะใช้ภาษาในการตั้งชื่อ 2 ลักษณะ คือ ชื่อที่เป็นภาษาปลัง และชื่อที่ไม่ใช่ภาษาปลัง ซึ่งแสดงให้เห็นลักษณะทางภาษาในการตั้งชื่อของกลุ่มชาติพันธุ์ปลังที่แปรเปลี่ยนไปตามบริบทสังคมวัฒนธรรม

References

คันธรส วิทยาภิรมย. (2554). การตั้งชื่อกับชาติพันธุละเวือะ บานปาแป อําเภอแมสะเรียง จังหวัดแมฮองสอน.

วารสารภาษาและวัฒนธรรม, 30(2), น. 5-22.

ชมพูนุท โพธิ์ทองคํา. (2541). การตั้งชื่อของกะเหรี่ยงโป ตําบลสวนผึ้ง อําเภอสวนผึ้งจังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ

ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหิดล).

นริศรา โฉมศิริ. (2547). การศึกษาบริบททางภาษาศาสตรและวัฒนธรรมของชื่อชาวมอญ: กรณีศึกษาชาวมอญ

บานวังกะ ตําบลหนองลู อําเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี. (วิทยานิพนธศิลปศาสตรมหาบัณฑิต,

มหาวิทยาลัยมหิดล).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2554). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพฯ: นานมีบุคส พับลิเคชั่นส.

สรบุศย รุงโรจนสุวรรณ. (2550). ชื่อและนามสกุลของชาวดาระอั้ง ที่หมูบานไทยพัฒนาปางแดง (ปางแดงใน)

ตําบลเชียงดาว อําเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม. วารสารวิชาการมนุษยศาสตรและสังคมศาสตร, 3(2),

น. 21-40.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30