การนำเสนอแนวคิดที่ปรากฏในนวนิยายชายรักชาย เรื่อง Space ช่องว่างระหว่างเรา ของ หม่อมแม่

ผู้แต่ง

  • รดารมย์ นามวัฒน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • สุธิชา เพชร์รัตน์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  • พิชญาวี ทองกลาง คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา

คำสำคัญ:

แนวคิด นวนิยายวาย รักร่วมเพศ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิดที่ปรากฏในนวนิยายชายรักชาย เรื่อง Space ช่องว่างระหว่างเรา ของ หม่อมแม่ จำนวน 30 บท โดยใช้วิธีการวิจัยเอกสาร ผลการวิเคราะห์พบ 5 แนวคิด ได้แก่ 1. แนวคิดเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม แบ่งลักษณะของการกระทำได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ การกระทำที่เหมาะสม และการกระทำที่ผิดศีลธรรม 2. แนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้งในครอบครัว 3. แนวคิดเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกันของคนในสังคม แบ่งลักษณะของความสัมพันธ์ได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ ลักษณะของตัวละคร ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มเพื่อนในมหาวิทยาลัย และความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลภายนอก 4. แนวคิดเกี่ยวกับความรัก แบ่งลักษณะของความรักได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ ความรักของคนในครอบครัว ความรักระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย และความรักระหว่างผู้ชายและผู้ชาย และ 5. แนวคิดเกี่ยวกับการเข้าใจและยอมรับความเท่าเทียมกันทางเพศ แบ่งได้ 2 ลักษณะ ได้แก่ ยอมรับจากสังคม และการต่อต้านความคิดของตนเอง จากการวิเคราะห์แนวคิดดังกล่าว ผู้แต่งได้ให้ความสำคัญกับแนวคิดการเข้าใจและยอมรับความเท่าเทียมกันทางเพศ โดยสื่อผ่านความคิดและคำพูดของตัวละคร ทำให้ผู้อ่านเข้าใจกลุ่มคนรักร่วมเพศ และเคารพรสนิยมทางเพศที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น

References

ยุพิน วงษ์จีน. (2561). การวิเคราะห์นิยายวาย (Y) ออนไลนดัดแปลงเป็นละครชุด (Series) ทางโทรทัศน์.

กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

สุภาวรัชต์ วัฒนทัพ. (2556). ภาพแทนคนรักเพศเดียวกันในนวนิยายวายจากสื่ออินเทอรเน็ต. กรุงเทพฯ:

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

หมอมแม่. (2561). Space ช่องว่างระหวางเรา (พิมพครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: เซนสบุ๊คพับลิชชิ่ง

LI XINYAO. (2564). กลวิธีการแต่งและแนวคิดในนวนิยายวายไทย. สมุทรปราการ: มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิม

พระเกียรติ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-30