แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดลำปาง
Main Article Content
บทคัดย่อ
โรงเรียนเอกชนในจังหวัดลำปาง สังกัดสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ มีนโยบายในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 เพราะฉะนั้นจึงจำเป็นที่ผู้บริหารสถานศึกษา ต้องมีความรู้ความสามารถ ทักษะและประสบการณ์ทางการบริหารการศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้ทันสมัยเหมาะสม กับการเปลี่ยนแปลง วัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดลำปาง และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาทักษะ การบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดลำปาง
รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 214 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถาม สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดลำปาง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด จำแนกรายด้านโดยรวมอยู่ในระดับมากเรียงจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล โดยมีค่าเฉลี่ย 4.75 ทักษะการด้านคิดวิเคราะห์ มีค่าเฉลี่ย 4.73 และทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล มีค่าเฉลี่ย 4.70 และ 2. แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดลำปาง คือ สำรวจความต้องการของบุคลากรในการพัฒนาตนเองเพื่อกำหนดแผนพัฒนาบุคลากร ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต วิริยะ อุตสาหะ มอบหมายงานตามความถนัดและขีดความสามารถ ทำงานด้วยความสำเร็จและรับผิดชอบ เป็นแบบอย่างที่ดี สร้างขวัญและกำลังใจ มีใจเป็นกลาง วางเฉย เมื่อได้รับการปฏิเสธหรือการนินทาว่ากล่าว พิจารณาความชอบอย่างเป็นธรรม และรู้จักข่มใจ รักษาอารมณ์ได้มั่นคง เคารพสิทธิ์ของผู้ใต้บังคับบัญชา อยู่ในระดับมาก ผู้วิจัยเห็นว่า ผู้บริหารสถานศึกษามีความรักและศรัทธาในอาชีพ ปฏิบัติตนอย่างซื่อสัตย์และเสมอต้นเสมอปลาย เสียสละ อุทิศเวลาในการทำงานเต็มที่ เอาใจใส่ผู้ร่วมงาน มอบหมายงานตามความสามารถและช่วยเหลือผู้อื่น เป็นที่ปรึกษาที่ดี สร้างขวัญและกำลังใจให้ผู้ใต้บังคับบัญชา วางตัวเป็นกลาง วางเฉยต่อการปฏิเสธหรือการติฉินนินทา และพิจารณาความดีและความชอบของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเป็นธรรม สอดคล้องกับแนวคิดของหลักธรรมอิทธิบาท 4 ที่เป็นธรรมะที่ใช้ในการทำงาน คือ ฉันทะ วิริยะ จิตตะ และวิมังสา
ข้อค้นพบจากการวิจัยนี้ คือ ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 5 ลำดับแรก ได้แก่ ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิตอล รองลงมาคือ การคิดวิเคราะห์และการคิดสร้างสรรค์ ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การบริหารองค์กร และการทำงานเป็นทีม มาสร้างองค์ความรู้ใหม่ ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดลำปาง และ แนวทางการพัฒนาทักษะการบริหาร ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชนในจังหวัดลำปาง ที่สามารถอธิบายด้วย SMART Model
สรุปโดยย่อทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชน จำแนกรายด้านโดยรวมอยู่ในระดับมากเรียงจากมากไปหาน้อย 3 อันดับแรก ได้แก่ ทักษะทางเทคโนโลยีและการใช้ดิจิทัล ทักษะการด้านคิดวิเคราะห์ และทักษะด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความคิดเห็นของหลักอิทธิบาท 4 ของผู้บริหารโรงเรียนเอกชน พบว่า ผู้บริหารสถานศึกษาชอบและศรัทธาในงาน สำรวจความต้องการของบุคลากรในการพัฒนาตนเองเพื่อกำหนดแผนพัฒนาบุคลากร ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต วิริยะ อุตสาหะ มอบหมายงานตามความถนัดและขีดความสามารถ
Article Details
References
ธีระ รุญเจริญ. (2559). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสฤษดิ์วงศ์.
บุญใจ ศรีสถิตย์นรากูล. (2555). การพัฒนาและการตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือวิจัย : คุณสมบัติการวัดเชิงจิตวิทยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทนงศักดิ์ เปี่ยมบุญสุข. (2544). การนำทักษะการบริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 ไปใช้ในการทำงาน ศูนย์ควบคุมการบินภูเก็ต บริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย จำกัด. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
พิชญา ดำนิล. (2559). ภาวะผู้นำในสตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารคณะศิลปศึกษาและห้องเรียนเครือข่ายสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยฟาร์ อีสเทอร์น.
สุวิมล ทองจำรัส. (2018). ผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ. 1 (2), 603-610.