ปัจจัยองค์ประกอบที่มีผลต่อการบริหารงานลูกเสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยองค์ประกอบที่มีผลต่อการบริหารงานลูกเสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพทำการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่เป็น ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการบริหารงานลูกเสือ ได้จากการเลือกแบบเจาะจง จำนวน 12 คน ใช้แนวคำถามในการสัมภาษณ์เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลจากนั้นได้ทำการลดทอนข้อมูลตรวจสอบข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสร้างข้อสรุปแบบอุปนัย (Analytic induction)
ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยองค์ประกอบที่มีผลต่อโมเดลประสิทธิผลการบริหารงานลูกเสือในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จังหวัดปทุมธานี ประกอบด้วย 7 ปัจจัย ได้แก่ 1) การจัดมวลกิจกรรมลูกเสือ 2) คุณลักษณะลูกเสือ 3) คุณลักษณะผู้กำกับ 4) คุณลักษณะผู้บริหาร 5) ปัจจัยแห่งความสำเร็จ (อิทธิบาท 4) 6) วงจรคุณภาพเดมมิ่ง PDCA และ 7) ประสิทธิผลการบริหารงานลูกเสือ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงานด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ และวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2545). คู่มือการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การค้ารับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
ปริตา พืชผล. (2563). การพัฒนาการบริหารงานลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่ โรงเรียนเวียงสระ. การศึกษาค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
วีระยุทธ ชาตะกาญจน์. (2557). การวิจัยเพื่อพัฒนาการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วี.พรินท์ (1991).
ศิริ ผิวชัย. (2560). ผลการใช้รูปแบบการบูรณาการหลักธรรมอิทธิบาท 4 กับการจัดกิจกรรมลูกเสือ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านลวงเหนืออำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศุภฤกษ์ ศิโรทศ. (2561). แนวทางการบริหารงานกิจกรรมลูกเสือสามัญรุ่นใหญ่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 5. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์.
สรรพสิทธิ์ ศรีระวรรณ. (2562). การพัฒนาแนวทางการบริหารการจัดกิจกรรมลูกเสือ-เนตรนารี ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 23. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สำนักงานลูกเสือแห่งชาติ. (2564). ลูกเสือไทย ณ ปีที่ 109. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง.
สุเมธ สุจริยวงศ์. (2562). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างคุณธรรมจริยธรรมของนักเรียนโดยใช้กระบวนการลูกเสือโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดกรุงเทพมหานคร. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยบูรพา.
อำไพ โสดาดี. (2559). บทบาทผู้บริหารกับการนำและการจัดการลูกเสือที่ดีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
เอกพล กาญจน์สำเริง. (2560). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารกับความสำเร็จในการบริหารกิจการลูกเสือ ตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.