https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JEAHS/issue/feed วารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ 2024-12-23T01:55:43+07:00 พระมหาญาณวัฒน์ ฐิตวฑฺฒโน, ผศ. ดร. yannawat8@gmail.com Open Journal Systems <p><strong>วารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์</strong></p> <p><strong>Journal of Educational Administration and Human Social Sciences (JEAHS)</strong></p> <p><strong>ISSN 3027-7191 (Online)</strong></p> <p><strong>นโยบายและขอบเขตการตีพิมพ์ : </strong></p> <p>มีนโยบายรับตีพิมพ์บทความในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้องกับพุทธศาสตร์ ครุศาสตร์ ศึกษาศาสตร์ ศิลปศาสตร์ สังคมศาสตร์ รัฐศาสตร์ รัฐประศาสนศาสตร์ และสาขาวิชาสหวิทยาการอื่นๆ</p> <p>บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์จะต้องไม่เคยตีพิมพ์ หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความในวารสารอย่างเคร่งครัด โดยอ้างอิงตามรูปแบบของ APA (นาม-ปี) รวมถึงเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารฯ และเป็นบทความที่ไม่มีความหลายมากกว่า 25% ตามที่กำหนดไว้ในโปรแกรม CopyCat ในเว็บ Thaijo2</p> <p>ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารฯ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความ โดยไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของวารสารฯ</p> <p><strong>กระบวนการพิจารณาบทความ : </strong></p> <p>บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญ 2 แบบ คือ</p> <p>แบบที่ 1 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 2 ท่าน ต่อ 1 บทความ แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</p> <p>แบบที่ 2 บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิที่เชี่ยวชาญอย่างน้อย 3 ท่าน ต่อ 1 บทความ แบบผู้ทรงคุณวุฒิและผู้แต่งไม่ทราบชื่อกันและกัน (double-blind review)</p> <p><strong>ประเภทของบทความ : </strong></p> <p>เปิดรับตีพิมพ์ประเภทของบทความ คือ บทความวิจัย (Research Article) และบทความวิชาการ (Original Article)</p> <p><strong>ภาษาที่รับตีพิมพ์ :</strong></p> <p>เปิดรับบทความที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ</p> <p><strong>กำหนดออก : </strong></p> <p>มีกำหนดออกตีพิมพ์ 3 ฉบับ ต่อปี (ราย 4 เดือน) ดังนี้</p> <p>ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม- เมษายน</p> <p>ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม</p> <p>ฉบับที่ 3 เดือนกันยายน-ธันวาคม</p> https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JEAHS/article/view/1279 ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2024-12-06T21:27:46+07:00 ชนากร ศาสตร์สกุล beebeen02@gmail.com บุญเชิด ชำนิศาสตร์ beebeen02@gmail.com <p>บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 278 คน มีเครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น</p> <p>ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ อันดับที่ 1 การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ อันดับที่ 2 การมีวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และพันธกิจการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อันดับที่ 3 การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการเรียนการสอน อันดับที่ 4 <br />การพัฒนาวิชาชีพครู และอันดับที่ 5 การสร้างบรรยากาศ และวัฒนธรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JEAHS/article/view/1108 หลักพุทธธรรมกับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาศตวรรษที่ 21 2024-12-05T11:42:16+07:00 ฐิติพร พิมพ์ชัย titipornpimchai@gmail.com <p>ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนมีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนความสำเร็จของนักเรียน เมื่อรวมกับการนำหลักพุทธธรรมได้แก่ หลักอิทธิบาท 4 มาเชื่อมโยงเข้ากับทฤษฎีการศึกษาต่างๆ แสดงให้เห็นถึงการประยุกต์ใช้อย่างเป็นรูปธรรมในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน โดยฉันทะ (ความพอใจ) สร้างแรงบันดาลใจในการเรียนรู้ผ่านการจัดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ และการให้คำปรึกษาที่เสริมสร้างความมั่นใจในตนเอง วิริยะ (ความเพียร) ปลูกฝังความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ผ่านการส่งเสริมการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ และการให้คำปรึกษาที่ช่วยพัฒนาทักษะการจัดการกับอุปสรรค จิตตะ (ความตั้งใจ) ส่งเสริมสมาธิและความตั้งใจในการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ท้าทาย และการฝึกสมาธิ และวิมังสา (ความไตร่ตรอง) ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์และประเมินผลผ่านการกระตุ้นให้นักเรียนตั้งคำถาม และการให้คำปรึกษาที่เน้นการสะท้อนความคิดการบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 เข้ากับระบบดูแลช่วยเหลือนักเรีย จะช่วยให้ครูและบุคลากรทางการศึกษามีกรอบแนวคิดและแนวปฏิบัติที่ชัดเจนในการดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนอย่างรอบด้าน และสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ที่มีความสุขและเอื้ออาทรต่อทุกคน อันจะนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาของประเทศไทยให้ดียิ่งขึ้นต่อไป</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JEAHS/article/view/1125 การบริหารงานบุคคลเชิงกลยุทธ์ในยุคสังคมดิจิทัลตามหลักพรหมวิหาร 4 2024-12-05T11:40:54+07:00 ฉลอง ศิริเพ็ง chalongsiripeng@gmail.com <p>บทความวิชาการฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอการบริหารงานบุคคลเชิงกลยุทธ์ในยุคสังคมดิจิทัล โดยนำหลักพรหมวิหาร 4 มาประยุกต์ใช้เพื่อสร้างวัฒนธรรมองค์กรที่เอื้อต่อการทำงานร่วมกันและส่งเสริมประสิทธิภาพของบุคลากรการนำหลักพรหมวิหาร 4 มาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานบุคคลเชิงกลยุทธ์ ในยุคดิจิทัล การวางแผนและดำเนินการต่างๆ อย่างเป็นระบบ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้โดยอาศัยการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบันและคาดการณ์อนาคต เพื่อกำหนดทิศทางและแนวทางในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายนั้นๆสามารถช่วยให้องค์กรบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการสร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างผู้บริหารกับบุคลากร การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร การสร้างสรรค์นวัตกรรม และการปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงในยุคดิจิทัล นอกจากนี้ ยังได้เสนอแนวทางการนำหลักพรหมวิหาร 4 มาประยุกต์ใช้ในบริบทขององค์กรต่างๆ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JEAHS/article/view/1275 การบริหารทรัพยากรบุคคลตามหลักพุทธธรรมในสถานศึกษายุคดิจิทัล 2024-12-05T11:35:59+07:00 ธีรทัศน์ ปิติภาคย์พงษ์ pikbma14@gmail.com <p>บทความนี้จะนำเสนอการบริหารทรัพยากรบุคคลตามหลักพุทธธรรมในสถานศึกษายุคดิจิทัลเป็นการบริหารทรัพยากรบุคคลเปลี่ยนแปลงไปอย่างมากในยุคของการขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยเฉพาะการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษาต้องใช้ศาสตร์และศิลปะในการบริหารสถานศึกษาสามารถบูรณาการกับหลักพุทธธรรม คือ หลักพรหมวิหารธรรม ประกอบด้วย 1) เป็นผู้มีจิตใจเผื่อแผ่ (เมตตา) ผู้บริหารต้องมีพฤติกรรมมีความหวังดีต่อครู หรือผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียน เพื่อให้ผู้อื่นมีความสุขมีจิตใจแผ่ไมตรีจิต 2) เป็นผู้มีความหวังดี (กรุณา) ผู้บริหารต้องมีพฤติกรรมหวังดีกับผู้อื่นหรือครูหรือผู้ใต้บังคับบัญชาในโรงเรียน 3) เป็นผู้มีความยินดี (มุทิตา) ผู้บริหารต้องมีความยินดี มีจิตผ่องใสบันเทิงพลอยยินดีด้วย เมื่อเขามีความเจริญด้วยความรู้ความสามารถ เจริญด้วย ลาภ ยศ และชื่อเสียงพลอยชื่นชมยินดีตาม และ 4) เป็นผู้มีการวางตนเป็นกลาง (อุเบกขา) มีการวางตนเป็นกลาง มีความวางเฉย เมื่อมีผู้ประพฤติดีก็ต้องยกย่อง สรรเสริญคุณงามความดี ซึ่งบทความนี้จะเป็นประโยชน์แก่ 1) ผู้บริหารเพื่อได้แนวคิดในการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานบุคคล 2) บุคลากรเพื่อเข้าใจถึงความสำคัญของหลักพุทธธรรมในการสร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดี 3) นักศึกษาเพื่อได้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารทรัพยากรบุคคลในยุคดิจิทัลและการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในทางปฏิบัติ</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JEAHS/article/view/1278 ปัญญาประดิษฐ์เพื่อการบริหารการศึกษายุคดิจิทัล 2024-12-06T16:44:56+07:00 สว่างนภา ต่วนภูษา svangnabha@rmutt.ac.th <p>ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: AI) กำลังเข้ามามีบทบาทสำคัญในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการศึกษาในยุคดิจิทัล ทั้งในด้านการเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน การบริหารองค์กร และการให้บริการทางการศึกษา ด้วยความสามารถในการประมวลผลข้อมูลปริมาณมหาศาล วิเคราะห์รูปแบบ และตัดสินใจแบบอัตโนมัติ ระบบปัญญาประดิษฐ์ นำไปสู่การยกระดับประสิทธิภาพ การปรับปรุงผลลัพธ์การเรียนรู้ และการขยายโอกาสทางการศึกษาในวงกว้าง อย่างไรก็ตาม การนำปัญญาประดิษฐ์มาใช้ในการบริหารการศึกษายังมีข้อท้าทายหลายประการ ทั้งในแง่ของความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ การบริหารความเสี่ยง และประเด็นจริยธรรมที่ต้องพิจารณา</p> <p>บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรมเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการบริหารการศึกษายุคดิจิทัลโดยนำเสนอ 1) การประยุกต์ใช้ปัญญาประดิษฐ์ในการบริหารการศึกษายุคดิจิทัล 2) ความท้าทายในการนำปัญญาประดิษฐ์มาปรับใช้ในการศึกษา และ 3) แนวทางการขับเคลื่อนการใช้ปัญญาประดิษฐ์อย่างมีประสิทธิภาพและรับผิดชอบ โดยใช้เทคนิคการทบทวนวรรณกรรมอย่างเป็นระบบ สังเคราะห์จากบทความวิชาการและงานวิจัยชั้นนำในวงการที่ผ่านกระบวนการกลั่นกรองอย่างเข้มข้น เพื่อนำไปสู่ข้อเสนอแนะเชิงนโยบายสำหรับการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านการใช้ปัญญาประดิษฐ์ในหน่วยงานการศึกษา ที่ครอบคลุมการวางกลยุทธ์ การพัฒนาความพร้อม การบริหารความเปลี่ยนแปลง ตลอดจนการสร้างกลไกการกำกับดูแลในเชิงจริยธรรม เพื่อใช้ศักยภาพปัญญาประดิษฐ์ในการยกระดับคุณภาพการศึกษาและสร้างความเท่าเทียมทางการเรียนรู้ได้อย่างเต็มที่</p> 2024-12-23T00:00:00+07:00 Copyright (c) 2024 วารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์