ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานบุคคลของผู้บริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

Main Article Content

มนัสนันท์ บุญปู่
พระครูโอภาสนนทกิตติ์ (ศักดา โอภาโส)
สมศักดิ์ บุญปู่

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นของการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ อาจารย์ในมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในส่วนของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยส่วนกลาง วิทยาเขต และวิทยาลัยสงฆ์ โดยใช้สูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยการใช้ตารางของ Krejcie & Morgan ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง 269 รูป/คน มีเครื่องมือการวิจัยคือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ คือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่า PNIModified


ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นการบริหารงานบุคคลของผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย มีความต้องการจำเป็นทุกด้าน PNIModified อยู่ระหว่าง 0.070 – 0.085 ในภาพรวม PNIModified = 0.079 โดยด้านการบริหารงานบุคคลที่มีความต้องการจำเป็นลำดับที่ 1 คือ การพัฒนาบุคลากร (PNIModified = 0.085) รองลงมา คือ การบำรุงรักษาบุคลากร (PNIModified = 0.084) การให้บุคลากรพ้นจากงาน (PNIModified = 0.071) และการได้มาซึ่งบุคลากร (PNIModified = 0.070) ตามลำดับ

Article Details

How to Cite
บุญปู่ ม. ., (ศักดา โอภาโส) พ. ., & บุญปู่ ส. . (2024). ความต้องการจำเป็นของการบริหารงานบุคคลของผู้บริหาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย . วารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์, 1(1), 39–48. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JEAHS/article/view/294
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2564). นโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2564 - 2568. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม.

ธีรยุทธ พึ่งเทียร และ สุรพล สุยะพรหม. (2543). การบริหารงานบุคคลและวิชาความถนัดเชิงวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: สูตรไพศาล.

บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์นการพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต), (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย. (2542). หลักเกณฑ์พัฒนาบุคลากร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย. (2550). เอกสารประเมินผลการปฏิบัติงานของบุคลากรในมหาวิทยาลัยมหาจุฬามหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2545). หลักการบริหารงานบุคคล. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2565). แผนพัฒนาการบริหารงานบุคคล ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2565 - 2569). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รุ่ง แก้วแดง. (2544). องค์การและการบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สมชาย หิรัญกิตติ. (2542). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2562). แผนพัฒนาการอุดมศึกษา ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2562 - 2566). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (2564). แนวทางการพัฒนาบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2558). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น. พิมพ์ครั้งที่ 3 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุวิมล ว่องวานิช. (2542). การสังเคราะห์เทคนิคที่ใช้ในการประเมินความต้องการจำเป็นในนิสิตคณะครุศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. รายงานวิจัย. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Cronbach, Lee J. (1971). Essentials of psychological testing. 4 th ed. New York: Harper & Row.

Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607-610.

Likert, Rensis. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale, in Reading in Attitude Theory and Measurement. New York: Wiley & Son.