การวิเคราะห์หลักพุทธธรรมในการขับเคลื่อนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอการวิเคราะห์หลักพุทธธรรมในการขับเคลื่อนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา พบว่า หลักอิทธิบาท 4 เป็นหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาที่ว่าด้วยวิธีการปฏิบัติเพื่อให้บรรลุถึงความสำเร็จ ซึ่งมีความเหมาะสมในการขับเคลื่อนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจะช่วยให้สถานศึกษาสามารถบรรลุเป้าหมายในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ได้แก่ 1) ฉันทะ ความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ โดยผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียนทุกคนมีความรักและศรัทธาในสถานศึกษา มีเป้าหมายและวิสัยทัศน์ร่วมกัน มีแผนพัฒนาสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษา 2) วิริยะ ความพยายามอย่างต่อเนื่องในการปรับปรุงและพัฒนาสถานศึกษา โดยผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียนทุกคนร่วมมือร่วมใจกันทำงานอย่างหนัก ไม่ย่อท้อต่ออุปสรรค มุ่งมั่นที่จะพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ 3) จิตตะ ความตั้งใจจดจ่อในการปรับปรุงและพัฒนาสถานศึกษา โดยผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียนทุกคนมุ่งมั่นที่จะทำสิ่งนั้นให้สำเร็จ มีสมาธิในการทำงาน มีการวางแผนและดำเนินการอย่างรอบคอบ และ4) วิมังสา การใช้ปัญญาพิจารณาหาเหตุผลในการปรับปรุงและพัฒนาสถานศึกษา โดยผู้บริหาร ครู บุคลากร และนักเรียนทุกคนใช้ความคิดไตร่ตรองอย่างรอบคอบ ใช้ข้อมูลและสารสนเทศประกอบการตัดสินใจ มีการทบทวน และพัฒนางานอยู่เสมอ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงานด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ และวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2546). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 พร้อมกฎกระทรวงที่เกี่ยวข้องและพระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
ฉันทนา ภุมมา. (2564). การประกันคุณภาพตามหลักพุทธรรม. วารสารศึกษิตาลัย. 2(1). 15-28.
ชยานนท์ ไสเสริม. (2562). แนวทางการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาโดยใช้หลักสาราณียธรรม 6 ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณัฐชยา บำรุงเวช. (2561). การประยุกต์ใช้อิทธิบาท4ในกระบวนการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา: ศึกษาเฉพาะกรณีโรงเรียนในสังกัดกลุ่มอัมพวา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรสงคราม. วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 7(1). 1-9.
ธนัญก์สิชณ์ภ์ บำรุงอโญฑ์สกุล. (2564). แนวทางการประกันคุณภาพการศึกษาภายในตามหลักอิธิบาท 4 ของโรงเรียนเอกชนประเภทสามัญศึกษา ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 8(3). 2.
นิติธร ปิลวาสน์. (2556). การประกันคุณภาพการศึกษา. แหล่งที่มา http://taamkru.com/th. สืบค้นเมื่อ 16 มิ.ย. 2565.
บวรนันท์ ชมเชย. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างการใช้หลักสัปปุริสธรรมกับการดำเนินงานประกัน คุณภาพภายในสถานศึกษาของผู้บริหารโรงเรียนในอำเภอชะอวด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูปลัดปริยัติวัฒน์ (ไพชน สิริธมฺโม). (2561). การประกันคุณภาพตามหลักอิทธิบาท 4. วารสารบัณฑิตศาส์น มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 16(2). 174.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาสภิกขุ). (2549). การงานที่เป็นสุข. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ธรรมสภา.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2549). การเพิ่มประสิทธิภาพในการทางาน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: สุขภาพใจ.
พระพรหมมังคลาจารย์ (หลวงพ่อปัญญา นันทภิกขุ). (2560). งานคือชีวิตชีวิตคืองานบันดาลสุข. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบันลือธรรม.
พระมหาณรงค์ศักดิ์ ฐิตญาโณ. (2546). พระอภิธรรมปิฎก 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอิษฎามาศ ปภสฺสรวณฺโณ (สุวรรณะ). (2561). การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ตามหลักอิทธิบาท 4 ของโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 1 กรุงเทพมหานคร. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 5(2). 115-117.
พัทธ์ธีญา ไพรมุ้ย. (2556). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามหลักอิทธิบาท 4 ของสถานศึกษาสังกัดสานักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ราชกจจานเบกษา. (2561). กฎกระทรวงว่าด้วยการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. เล่มที่ 135 ตอนที่ 11 ก. หน้า 3. (วันที่ 23 ก.พ. 2561).
รุ่ง แก้วแดง. (2544). การประกันคุณภาพทุกคนทำได้ไม่ยาก. กรุงเทพมหานคร: วัฒนพานิช.
ว.วชิรเมธี. (2551). คนสำราญงานสำเร็จ. พิมพ์ครั้งที่ 14. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์อมรินทร์.
วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ. (2565). คู่มือการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565. ชลบุรี: วิทยาลัยเทคนิคสัตหีบ.
สถิตย์ รัชปิตย์. (2548). การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ไปใช้ในการศึกษาเล่าเรียนของนักศึกษาคฤหัสถ์. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สมพร อินทรพาเพียร. (2561). ปรับใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคมจังหวัดเชียงใหม่ วารสารวิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง. 7(1). 10-24.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). กระบวนการประกันคุณภาพการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2543). แนวทางการประเมินคุณภาพภายในสถานศึกษา : เพื่อพร้อมรับการประเมินภายนอก. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2561). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา ระดับปฐมวัย ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานศูนย์การศึกษาพิเศษ, กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักทดสอบทางการศึกษา. (2563). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ตามกฎกระทรวงการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2561. กรุงเทพมหานคร: เอ็น.เอ.รัตนะเทรดดิ้ง.
อารีรัตน์ วัฒนสิน. 2545. ประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน งานเก่าที่จัดระบบใหม่. วารสารวิชาการ. 3. 8-9.