ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา เป็นการวิจัยเชิงปริมาณด้วยการใช้แบบสอบถามกลุ่มตัวอย่างที่เป็นครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษาจำนวน 278 คน มีเครื่องมือในการวิจัยคือแบบสอบถาม ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพื้นฐาน คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความต้องการจำเป็น
ผลการวิจัย พบว่า ความต้องการจำเป็นภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา มีค่าดัชนีความต้องการจำเป็นสูงที่สุด คือ อันดับที่ 1 การบริหารจัดการหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ อันดับที่ 2 การมีวิสัยทัศน์ เป้าหมาย และพันธกิจการพัฒนาคุณภาพการศึกษา อันดับที่ 3 การนิเทศ กำกับ ติดตาม และประเมินผลการจัดการเรียนการสอน อันดับที่ 4
การพัฒนาวิชาชีพครู และอันดับที่ 5 การสร้างบรรยากาศ และวัฒนธรรมการเรียนรู้ ตามลำดับ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ส่งมาขอรับการตีพิมพ์ในวารสารวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ จะต้องไม่เคยตีพิมพ์หรืออยู่ระหว่างการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อตีพิมพ์ในวารสารอื่น รวมทั้งผู้เขียนจะต้องคำนึงถึงจริยธรรมการวิจัย ไม่ละเมิดหรือคัดลอกผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง ซึ่งทางวารสารได้กำหนดความซ้ำของผลงานด้วยโปรแกรม CopyCat เว็บ Thaijo ในระดับ ไม่เกิน 25%
ในกรณีที่ บทความวิจัยมีกระบวนการวิจัยเกี่ยวข้องกับมนุษย์ ผู้นิพนธ์จะต้องส่งหลักฐานการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์มาประกอบการลงตีพิมพ์ด้วยจึงจะได้รับการพิจารณาลงตีพิมพ์ในวารสาร
ผู้เขียนบทความจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การเสนอบทความเพื่อตีพิมพ์ในวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ รวมทั้งระบบการอ้างอิงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ โดยรวมทั้งทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์ และวารสารการบริหารการศึกษาและมนุษยสังคมศาสตร์
References
ไกศิษฎ์ เปลรินทร์. (2558). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผุ้นำทางวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
จรัส อติวิทยาภรณ์. (2554). หลักการและทฤษฎีทางการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
ไชยา ภาวะบุตร. (2555). ภาวะผู้นำทางวิชาการในสถานศึกษา. สกลนคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
ฐนิตนันท์ ทวีกระแสร์. (2557). การใช้หลักสัปปุริสธรรม 7 ของผู้บริหารสถานศึกษาสหวิทยาเขตเวียงเรือคำสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ธานินท์ ศิลป์จารุ. (2551). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
นาวา สุขรมย์. (2550). การบริหารงานวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: แอล.ที.เพรส.
บุญชม ศรีสะอาด. (2535). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.
ประสิทธิ์ เขียวศรี และคณะ. (2548). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นําทางวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. รายงานวิจัย. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.
ปราณี แสนทวีสุข. (2547). การนำเสนอรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอ่างทอง. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
วีรยุทธ์ ชาตะกาญจน์. (2551). เทคนิคการบริหารสำหรับนักบริหารการศึกษามืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร: วีพริ้น.
สกล คามบุศย์, เฉลย ภูมิพันธ์ และธันยาภรณ์ พาพลงาม. (2559). การพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 2. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. (2564). รายงานผลการดำเนินงาน ประจำปี 2564. แหล่งที่มา https://policy.singprimary.go.th/report_budget/peport65 สืบค้นเมื่อ 1 ก.พ. 2566.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. (2565). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565. แหล่งที่มา https://policy.singprimary.go.th/plan/plan65 สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2566.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. (2565). สารสนเทศทางการศึกษา ประจำปีการศึกษา 2565. แหล่งที่มา https://policy.singprimary.go.th/inform_m/EI65 สืบค้นเมื่อ 6 กุมภาพันธ์ 2566.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2544). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2550). สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
Keeves, Peter J. (1988). Model and Model Building: Educational Research Methodology and Measurenment : An Intermational Handbook. Oxford: Pergamon Press.
Krejcie, R. V. & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement. 30(3). 607–610.