บทวิจารณ์หนังสือ “การออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้”
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำหนังสือเรื่อง “การออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้” ซึ่งหนังสือเล่มนี้มีประโยชน์และน่าสนใจสำหรับผู้สอน นิสิตหรือนักศึกษาครู นักการศึกษาหรือผู้ที่สนใจจะมาประกอบอาชีพเป็นครู เพราะการออกแบบและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้เป็นสมรรถนะที่สำคัญและจำเป็นของวิชาชีพครู ในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้อธิบายถึงหลักการสำคัญของการออกแบบและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 1 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ ตอนที่ 2 การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และตอนที่ 3 การประเมินและปรับปรุงแผนการจัดการเรียนรู้ เนื้อหาในแต่ละตอนผู้เขียนอธิบายหลักการสำคัญ ขั้นตอนการออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ไว้โดยละเอียดพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบที่ชัดเจน ส่งผลให้ผู้อ่านสามารถทำความเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย สามารถฝึกปฏิบัติออกแบบและเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ไปตามลำดับขั้นตอนที่ผู้เขียนได้นำเสนอไว้ในหนังสือ
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ข้อบังคับคุรุสภา ว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562. (2563, 7 พฤษภาคม). ราชกิจจานุเบกษา (เล่ม 137 ตอนพิเศษ 109ง, น. 10-14)
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์, ณัชภิตษา เชาวนแช่มชื่น, นราภรณ์ สโรดม และ ภัทรพร สุทธิรัตน์. (2566). การออกแบบและการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้. พิษณุโลก: โรงพิมพ์รัตนสุวรรณการพิมพ์ 3.
ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). เทคโนโลยีการสอน: การออกแบบและพัฒนา. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สมนึก ภัททิยธนี. (2546). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
สำนักงาน ก.ค.ส. (2564). หนังสือสำนักงาน ก.ค.ศ. สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการที่ ศธ.0206.3/6 ว9 ลงวันที่ 20 พฤษภาคม 2564 เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการประเมินตำแหน่งและวิทยฐานะข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่งครู. กรุงเทพฯ: สำนักงาน ก.ค.ศ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือประเมินสมรรถนะครู (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: สำนักพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579. กรุงเทพฯ: บริษัทพริกหวานกราฟ
ฟิค จำกัด
Bloom, B. Englehart, M., Furst, E., Hill, W. and Krathwohl, D. (1956). Taxonomy of Educational Objectives: The Classification of Educational Goals. Handbook I. Cognitive Domain. New York, Toronto: Longmans, Green.
Simson, E.J. (1972). The Classification of Educational objectives in The Psychomotor Domain. Washington DC: Gryphon House.