การประเมินโครงการสุขภาพดีวิถีเด็กเตรียม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินบริบท (2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (3) ประเมินกระบวนการ และ (4) ประเมินผลผลิตของโครงการสุขภาพดีวิถีเด็กเตรียม โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาภาคใต้ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 4 คน ครู 70 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 469 คน รวมทั้งสิ้น 543 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ประกอบด้วยแบบประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขบัญญัติและประเมินความพึงพอใจของโครงการสุขภาพดีวิถีเด็กเตรียม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยเกณฑ์การประเมินใช้ค่าคะแนนเฉลี่ยตั้งแต่ 3.50 ขึ้นไปตามแนวทางของเบสต์ ผลการศึกษาพบว่า 1) ผลการประเมินโครงการสุขภาพดีวิถีเด็กเตรียม ด้านบริบทผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลการประเมินโครงการสุขภาพดีวิถีเด็กเตรียมด้านปัจจัยนำเข้าผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 3) ผลการประเมินโครงการสุขภาพดีวิถีเด็กเตรียมด้านกระบวนการผ่านเกณฑ์ที่กำหนด 4) ผลการประเมินผลผลิตทั้ง 2 ประเด็น ได้แก่ การประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสุขบัญญัติแห่งชาติ และการประเมินความพึงพอใจของผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน ที่มีต่อโครงการสุขภาพดีวิถีเด็กเตรียม ซึ่งผลการประเมินโครงการคือผ่านเกณฑ์ที่กำหนด
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
กรมอนามัย. (2562). คู่มือการดำเนินงานโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2558). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
นิภา การประกอบ. (2562). การประเมินโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพโรงเรียนบ้านทุ่งนุ้ย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
พัชรี สุวรรณสุข. (2560). การศึกษาผลกระทบของโครงการโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพต่อพฤติกรรมการดูแลสุขภาพของนักเรียนในจังหวัดอุดรธานี. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น).
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (พ.ศ. 2566-2570). กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักส่งเสริมสุขภาพ. (2557). แนวทางการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรคเด็กวัยเรียนและเยาวชน. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.
อุบล หนูมาก. (2557). รายงานการประเมินโครงการการจัดการศึกษาแบบมีส่วนร่วมขององค์กร ในชุมชนเพื่อส่งเสริมสุขภาวะของนักเรียนโรงเรียนวัดฝาละมี ปีการศึกษา 2556. พัทลุง: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2.
Kaufman, R., & Keller, J. M. (1994). Levels of evaluation: Beyond Kirkpatrick. Human resource development quarterly, 5(4), 371.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.
Lee, P. Y., & Lau, K. W. (2018). A Digital Games Design for Children Health Promotion and Education in Hong Kong. The Journal of School Health, 6, 428-432.
Stufflebeam, D. L. (2003). The CIPP Model for Evaluation. Portland, Oregon: Annual Conference on the Oregon Program Evaluators Network (OPEN).