การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน โดยใช้สื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

ชนิตา พิมเสน
อรนุช ลิมตศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาสื่อประสม เรื่อง “แรงในชีวิตประจำวัน” สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้เกณฑ์มาตรฐาน 80/80 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง “แรงในชีวิตประจำวัน” ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้สื่อประสม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 30 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2567 โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช “ณ นคร อุทิศ” จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยใช้วิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม ใช้แบบแผนการทดลองแบบ One Group, Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ (1) สื่อประสม เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 การวิเคราะห์ข้อมูลดาเนินการโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การประเมินประสิทธิภาพตามเกณฑ์ (E1/E2) และการทดสอบค่าที แบบกลุ่มตัวอย่างไม่เป็นอิสระต่อกัน (dependent t-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) สื่อประสม เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 80.58/81.16 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์กำหนด คือ 80/80 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง แรงในชีวิตประจำวัน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐาน

Article Details

How to Cite
พิมเสน ช., & ลิมตศิริ อ. (2025). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องแรงในชีวิตประจำวัน โดยใช้สื่อประสม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. Journal of Applied Education, 3(3), 11–18. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1508
บท
บทความวิจัย

References

ธชามาศ รัตนจินดา. (2556). การพัฒนาสื่อประสมเชิงปฏิสัมพันธ์เรื่องระบบหายใจ กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและ พลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี, 24(3), 5-16.

ธีระชัย เอี่ยมผ่อง. (2562). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง การประยุกต์การแปลงทางเรขาคณิต สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. (การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).

ปัญจมาภรณ์ ทาเอื้อ. (2556). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อประสมเรื่องแรงและพลังงานที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 กลุ่มโรงเรียนหันคา จังหวัดชัยนาท. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช).

วุฒิสิทธิ์ สมตุ้ย.(2558). การใช้สื่อประสมเพื่อพัฒนาความสามารถในการคูณของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่).

สมสกุล เทพประทุน. (2565). การพัฒนาทักษะการฟังภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยใช้สื่อประสม ในการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรังสิต).

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.