การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4

Main Article Content

ปารวี ชูบุญเรือง
กรวิภา สรรพกิจจำนง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) สร้างและหาค่าประสิทธิภาพของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุด การสถาปนากรุงสุโขทัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 และ (2) เปรียบเทียบคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างวิธีการสอนด้วยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุด การสถาปนากรุงสุโขทัยกับการสอนแบบปกติ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนปทุมานุกูล ปีการศึกษา 2567 ด้วยการสุ่มแบบกลุ่ม ยกห้องเรียน โดยใช้วิธีการจับสลาก กลุ่มทดลอง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/1 จำนวน 35 คน สอนโดยใช้หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) และกลุ่มควบคุม คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/5 จำนวน 35 คน สอนโดยใช้การสอนแบบปกติ เครื่องมือในการวิจัย คือ (1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุด การสถาปนากรุงสุโขทัย (2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีที่เป็นอิสระต่อกัน (t-test independent) ผลการวิจัยพบว่า 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดการสถาปนากรุงสุโขทัย ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิชาประวัติศาสตร์ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 81.54/82.42 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดของ E1/E2 คือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่สอนโดยหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) ชุดการสถาปนากรุงสุโขทัย สูงกว่าการสอนแบบปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้

Article Details

How to Cite
ชูบุญเรือง ป., & สรรพกิจจำนง . ก. (2025). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ เรื่อง พัฒนาการทางประวัติศาสตร์ในสมัยสุโขทัย ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. Journal of Applied Education, 3(1), 13–24. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1394
บท
บทความวิจัย

References

กรรณิการ์ กลับสกุล. (2560). การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง กฎหมายในชีวิตประจำวันสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศสตรีวิทยา พุทธมณฑล. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

ฉัตรชัย บุญสุวรรณ และ อภิชา แดงจำรูญ. (2567). การพัฒนาหนังสือที่สร้างขึ้นจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (E-book) วิชาสังคมศึกษา เรื่องภูมิภาคของไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสมุทรมณีรัตน์. วารสารบัณฑิตสาเกตปริทรรศน์, 9(2), 226-235.

นายูดา ดาเลาะ. (2559). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับหนังสืออิเล็กทรอนิกส์. สืบค้นจาก https://www.stw.ac.th/wp-content/uploads/2016/12/eBook-Series1.pdf.

โรงเรียนปทุมานุกูล. (2564). หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนปทุมานุกูล กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม. สืบค้นจาก https://drive.google.com/file/d/1lk7f4Vs9hSF_tml-M09QIBJboFVjxNpB/preview.

สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2549). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10. กรุงเทพฯ: สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2554). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

สุไรยา หมะจิ. (2563). สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิชาประวัติศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเอกชนในสังกัดสำนักงานศึกษาธิการ อำเภอหัวไทร จังหวัดนครศรีธรรมราช. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่).

Mehrens, W. A., & Lehmann, I. J. (1987). Using standardized tests in education. California: Longman/Addison Wesley Longman.