บทวิจารณ์หนังสือ “แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน”

Main Article Content

เตชวัน ปัญญาวุฒิธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแนะนำหนังสือเรื่อง “แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน” เขียนโดยสำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งใช้ฐานความรู้จากหนังสือ Bringing living heritage to the classroom in Asia-Pacific: a resource kit โดยนำมาบูรณาการกับองค์ความรู้ในบริบทประเทศไทย หนังสือนำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมและการบูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่การจัดการเรียนรู้ แบ่งการนำเสนอออกเป็น 5 บท เริ่มตั้งแต่เนื้อหาเกี่ยวกับมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมทั้งในบริบทสากลและบริบทประเทศไทย ก่อนจะนำเสนอแนวคิดการจัดการเรียนรู้ร่วมสมัยที่สัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม แล้วจึงเสนอแนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม และตัวอย่างการดำเนินการและแผนการจัดการเรียนรู้ในการบูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสู่การจัดการเรียนรู้ซึ่งเป็นผลมาจากการดำเนินงานจริงของครูในประเทศไทยและประเทศลาว โดยเนื้อหาในหนังสือขาดประเด็นเกี่ยวกับบทบาทของผู้ปกครองและสมาชิกในชุมชน บทบาทของผู้อำนวยการหรือผู้จัดการโรงเรียน และบทบาทของผู้กำหนดนโยบายในการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม ซึ่งสามารถนำไปพัฒนาให้สมบูรณ์ได้ในอนาคต

Article Details

How to Cite
ปัญญาวุฒิธรรม เ. (2025). บทวิจารณ์หนังสือ “แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม สำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน”. Journal of Applied Education, 3(1), 39–46. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/JAE/article/view/1337
บท
บทวิจารณ์หนังสือ

References

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2558). คู่มือการเสนอขอขึ้นทะเบียนมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์, สำนักงานกิจการโรงพิมพ์.

ชีวสิทธิ์ บุญยเกียรติ. (2560). คำชี้แจง. ใน งานสัมมนาวิชาการ “มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ : บทเรียนจากเพื่อนบ้าน” (น. 5-6). กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. (19 สิงหาคม 2542). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 116 ตอน 74 ก. หน้า 1 - 23.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษามรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม พ.ศ. 2559. (1 มีนาคม 2559). ราชกิจจานุเบกษา. เล่มที่ 133 ตอนที่ 19 ก. หน้า 1 - 9.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2567). แนวทางการจัดการเรียนรู้ที่บูรณาการมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมสำหรับการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา, ศูนย์สื่อและสิ่งพิมพ์แก้วเจ้าจอม.

UNESCO, ICHACAP and APCEIU. (2022). Bringing living heritage to the classroom in Asia-Pacific: A resource kit. Bangkok: Gang of the Unicorn.

UNESCO. (2003). Convention for the Safeguarding of the Intangible Cultural Heritage. Paris: UNESCO.