การดำเนินงานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในอำเภอศรีบุญเรือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินงานตามแนวทางชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในอำเภอศรีบุญเรือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนต่อการดำเนินงานตามแนวทางชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในอำเภอเมืองสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 จำแนกตาม ตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในอำเภอศรีบุญเรือง จังหวัดหนองบัวลำภู ปีการศึกษา 2565 จำนวน 273 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.889 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที (t-test) แบบ Independent Samples ผลการวิจัยพบว่า การดำเนินงานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในอำเภอศรีบุญเรือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ผลการเปรียบเทียบการดำเนินงานตามแนวทางชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนในอำเภอศรีบุญเรือง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 1 จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน โดยรวมแตกต่างกัน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
ชูชาติ พวงสมจิตร์. (2560). ชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพและแนวทางการนำมาใช้ในสถานศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10(1), 34-41
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 12 พ.ศ. 2560-2564. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา. (2558). มาตรฐานวิชาชีพทางการศึกษา. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการคุรุสภา.
Bentley, S. H. (1988). Building an effective high school: A descriptive study. (Doctoral dissertation, Pepperdine University, Malibu, CA).
Blank, M. J. (2003). Education reform: The community schools approach. In Promising practices to connect schools with the community (pp. 9-33). Washington, DC: Institute for Educational Leadership.
Caffarella, R. S., & Merriam, S. B. (1999). Perspectives on adult learning: Framing our research. Retrieved 2 September 2023. from https://newprairiepress.org/cgi/viewcontent.cgi?article=2825&context=aerc.
Cronbach, L. J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper & Row.
Hiatt-Michael, D. B. (2001). Schools as learning communities: A vision for organic school reform. School Community Journal, 11(2), 113-127.
Hipp, K. K., & Weber, P. (2008). Developing a Professional Learning Community among Urban School Principals. Journal of urban learning, teaching, and research, 4, 46-56.
McLaughlin, M. W. & Talbert, J. E. (2006). Building School Based Teacher Learning Communities: Professional Strategies to Improve Student Achievement. New York: Teachers College Press.
Sergiovanni, T. J. (1994). Organizations or communities? Changing the metaphor changes the theory. Educational administration quarterly, 30(2), 214-226.