โครงการ CSR เพื่อประโยชน์สาธารณกุศล : กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษา หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยทองสุข

Main Article Content

อนันท์ บินสุวรรณ์
วิไลรัตน์ บรรจงเลิศ
กิตติวัฒน์ รัตนดิลก ณ ภูเก็ต
ธรรศพงศ์ วงษ์สวัสดิ์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ รายงานการจัดทำโครงการ CSR เพื่อประโยชน์สาธารณกุศล กิจกรรมความรับผิดชอบต่อสังคมของนักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยทองสุข มีส่วนร่วมต่อการระดมทุนทรัพย์ เพื่อจัดหาและติดตั้งระบบโซล่าเซลล์ สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้าขนาด 3.5 กิโลวัตต์จากพลังงานแสงอาทิตย์ และส่งมอบให้แก่วัดเกาะหินตั้ง ตำบลเมืองบางขลัง อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย เป็นการจัดกิจกรรมที่ไม่แสวงหาผลกำไร มอบคุณค่าสาธารณะประโยชน์ให้กับศาสนสถาน มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม การดำเนินกิจกรรมภายใต้หลักจริยธรรมและการจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล อันจะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ภายใต้การบริหารจัดการและมีการเรียนรู้จากห้องเรียนสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ชุมชนห่างไกล มีความสอดคล้องกับเอกลักษณ์และอัตลักษณ์ของวิทยาลัยทองสุข ดังปณิธานที่ว่า “บัณฑิตจิตอาสา มีปัญญา มีความรู้ คู่คุณธรรม” และสอดคล้องกับ 4 พันธกิจหลัก คือ การผลิตบัณฑิต การวิจัย การให้บริการทางวิชาการแก่สังคม และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม มีการบริหารจัดการที่ดีอย่างมีประสิทธิภาพที่ก่อให้เกิดประสิทธิผลสูงสุดแก่ชุมชนและให้คุณภาพต่อสังคมส่วนรวมสืบไป

Article Details

บท
บทความวิชาการ

References

จอย ทองกล่อมสี. (2555). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความรับผิดชอบต่อสังคมของสถาบันอุดมศึกษาไทยตามหลักธรรมาภิบาล. (ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

จินตนา บุญบงการ. (2550). จริยธรรมทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จิรประภา อัครบวร และ ประยูร อัครบวร. (2552). ความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการราชกิจานุเบกษา.

วิทยาลัยทองสุข. (2566). แผนกลยุทธ์วิทยาลัยทองสุข ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566-2570). พิษณุโลก: สำนักวิชาการ วิทยาลัยทองสุข.

ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, ลัทธิกาล ศรีวะรมย์, ชวลิต ประภวานนท์ และ สุดา สุวรรณาภิรมย์. (2539). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: ดวงกมล.

สถาบันไทยพัฒน์. (2557). 6 ทิศทาง CSR ปี 2552. กรุงเทพฯ: มูลนิธิชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2552). ความรับผิดชอบต่อสังคม. กรุงเทพฯ: ก.กมลการพิมพ์.

สุพานี สฤษฎ์วานิช. (2544). การบริหารเชิงกลยุทธ์: แนวคิดและทฤษฎี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุมน อมรวิวัฒน์. (2557). ปฏิญญา “มหาวิทยาลัยรับผิดชอบต่อสังคม”. สืบค้น 12 กุมภาพันธ์ 2567. จาก http://globalusrnetwork.org/resources/MoralLetterhead.pdf.

อนันตชัย ยูรประถม. (2550). กรอบตัวชี้วัดความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรธุรกิจ. กรุงเทพฯ: สถาบันธุรกิจเพื่อสังคม.

International Organization for Standardization (ISO). (2010). Guidance on Social Responsibility International Standard. Geneva: International Organization for Standardization.

Kotler, P., & Lee, N. (2005). Corporate Social Responsibility: Doing the Most Good for Your Company and Your Cause. Hoboken, New Jerry: John Wiley & Sons.

Organization for Economic Co-Operation and Development. (2008). OECD Guideline for Multinational Enterprise. France: OECD Publishing.