การพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสนามบิน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

Main Article Content

สามเณรอาทิตย์ ฝ่ายทอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทย ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสนามบิน (2) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสนามบินที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ด้วยสื่อสังคมออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนสนามบิน อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 37 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยทดลองขั้นต้น (pre-experimental research) ด้วยวิธีการใช้แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนและหลังเรียน (One group Pretest - Posttest Design) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทย และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (Dependent Samples t-test) ผลการศึกษา พบว่า ทักษะการอ่านวิเคราะห์วรรณคดีไทยของนักเรียนหลังการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ สูงกว่าก่อนการจัดการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานที่ตั้งไว้ นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.

ธีระ วรรณเกตุศิริ. (2550). การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพื่อสร้างเสริมคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน ในรายวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศพื้นฐาน. (ครุศาสตร์อุตสาหกรรมมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ).

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สุรีวิริยาสาสน์.

บุปผา ไชยแสง. (2560). ผลการจัดการเรียนการสอนโดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ วิชาสารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิตของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. สืบค้น 15 มกราคม 2566. จาก https://profile.yru.ac.th/storage/academic-articles/August2020/ZVBPPHNZy9c6rbnkEpg8.pdf.

พรอำพัน อิทรพาณิชย์ และ ศศิธร ถานะ. (2565). ครูผู้สอน. สัมภาษณ์. 30 ธันวาคม 2565.

พวงรัตน์ ทวีรัตน์. (2543). วิธีการวิจัยทางพฤตืกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: สำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ.

รัชชานนท์ เฟื่องบุญ. (2564). การพัฒนาทักษะการอ่านวิเคราะห์วิจารณ์วรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้บทบาทการโค้ช. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สมนึก ภัททิยธนี. (2565). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 13). กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.

สุพิชชา ตันติธีระศักดิ์. (2558). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนแบบผสมผสานผ่านเครือข่ายสังคมออนไลน์ตามแนวคิดเพื่อนช่วยเพื่อน เพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาการเขียนโปรแกรมของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สุวิทย์ มูลคำ และ อรทัย มูลคำ. (2545). 21 วิธีจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนากระบวนการคิด. กรุงเทพฯ: ภาพพิมพ์.

อรวรรณ กองพิลา. (2561). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้วยกระบวนการ QSCCS โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์เพื่อพัฒนาทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. ขอนแก่น: โรงเรียนนครขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น.

LINE DEVELOPERS THAILAND. (2566). BOTNOI SME PLATFORM. สืบค้น 8 มกราคม 2566. จาก https://linedevth.line.me/th/oa-store/boinoi-sme-platform.

McGriff, S.J. (2008). WikiEducator “Free e-learning content”. Retrieved 8 January 2023. from http://wikieducator.org/File:ADDIE_model_diagram_by_McGriff.gif.

MGR Online. (2558). “ไทยรัฐทีวี” จับมือ “LINE ประเทศไทย” เปิดตัวบริการใหม่ หวังเพิ่มยอดคนดูทั่วประเทศ. สืบค้น 8 มกราคม 2566. จาก https://mgronline.com/business/detail/9580000090166.