การพัฒนาทักษะการอ่านออกเสียงคำควบโดยใช้แบบฝึกทักษะ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบ่อหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วรวุฒิ กาวี
อัครชัย ชัยแสวง
อรรถพงษ์ ผิวเหลือง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ ก่อนและหลังเรียน โดยใช้แบบฝึกหัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 และ (2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบ่อหลวง โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง รูปแบบการวิจัยทดลองขั้นต้น ด้วยวิธีการใช้กลุ่มทดลองกลุ่มเดียว เพื่อวัดผลก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบฝึกหัด แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้ การวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการศึกษาพบว่า ผลการเปรียบเทียบทักษะการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ โดยใช้แบบฝึกหัด ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านบ่อหลวง มีผลคะแนนการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำของนักเรียนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยจากทุกคนเท่ากับ 9.87 จำนวนนักเรียนที่การอ่านออกเสียงคำควบกล้ำมีทั้งสิ้น 16 คน มีความสามารถสูงสุดเท่ากับ 103 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 85.83 มีความสามารถต่ำสุดเท่ากับ 67 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 55.83 โดยสรุปแล้วนักเรียนมีความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยจากทุกคนเท่ากับ 14.18 และผลความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ ดังนี้ ในภาพรวมพบว่า นักเรียนมีความเห็นต่อการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายประเด็นพบว่า นักเรียนมีความเห็นต่อการเรียนรู้ด้านครูเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับนักเรียนมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด รองลงมาคือ นักเรียนมีความเห็นต่อการเรียนรู้ด้านครูมีเทคนิคหลักหลายในการสอนและด้านครูมีทักษะการสอนที่ดีมีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด นักเรียนมีความเห็นต่อการเรียนรู้ด้านครูมีปฏิสัมพันธ์ที่ดี มีค่าเฉลี่ยในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมวิชาการ. (2559). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ณัฐวรรณ นิธิสมบัติสถิต, รังสรรค์ มณีเล็ก และ สุกลรัตน์ มิ่งสมร. (2564). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่าน เขียนคําควบกล้ำ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแม่เกาะ สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(10), 207-218.

ดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์. (2526). ปัญหาการใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: กองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร.

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช. (2556). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

ลัดดาวัลย์ พงษ์เขตกรณ์. (2562). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด คล่องแคล่วคำควบกล้ำ เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการอ่านออกเสียงคำควบกล้ำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 4(3), 373-388.

ศรีประภา ปาลสุทธิ์. (2523). การสร้างแบบฝึกการอ่าน ร ล ว ควบกล้ำ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์).

สุดารัตน์ เอกวาณิช. (2520). การสร้างแบบฝึกการอ่าน ร ล ว ควบกล้ำ สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. (ครุศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).

แสงระวี ณรงคะชวนะ. (2542). การสร้างชุดการสอนการอ่านจับใจความสำคัญ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.