ศึกษาเปรียบเทียบเป้าหมายการพัฒนาจากภายในกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • ชิสา กันยาวิริยะ สาขาวิชาปรัชญาและจริยศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • สิรินทร์ กันยาวิริยะ บริษัท ล.ธนวงศ์ (1997) จำกัด

คำสำคัญ:

เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนจากภายใน (IDGs), เศรษฐกิจพอเพียง, การวิเคราะห์เชิงปรัชญา

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบแนวคิด จุดร่วม และจุดต่างระหว่างเป้าหมายการพัฒนาจากภายใน (Inner Development Goals: IDGs) กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ทั้งในเชิงปรัชญาและการประยุกต์ใช้ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการวิเคราะห์เชิงปรัชญา การตีความเชิงเนื้อหา และการสังเคราะห์แนวคิดเชิงเปรียบเทียบ ข้อมูลประกอบการวิจัยได้แก่ เอกสารต้นฉบับและงานวิชาการทั้งในระดับสากลและบริบทของสังคมไทย ผลการวิจัยพบว่า IDGs และปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีเป้าหมายร่วมกันในการส่งเสริมการพัฒนามนุษย์จากภายใน โดยเน้นการเติบโตด้านจิตใจ ความเข้าใจตนเอง ความสัมพันธ์ที่สมดุลกับผู้อื่น และการดำรงชีวิตอย่างมีจริยธรรมและมั่นคง แม้ว่าทั้งสองแนวคิดจะมีรูปแบบการนำเสนอและบริบทวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน แต่ล้วนมีความตั้งใจร่วมในการวางรากฐานของความยั่งยืนบนพื้นฐานคุณธรรมและความมั่นคงทางใจ IDGs มีลักษณะที่เป็นระบบและสามารถประยุกต์ใช้ได้ในระดับองค์กรและการพัฒนาภาวะผู้นำอย่างกว้างขวาง ขณะที่ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเน้นการถ่ายทอดคุณค่าทางจริยธรรมอย่างลึกซึ้งผ่านบริบทท้องถิ่น องค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัย คือการพัฒนา H.E.A.R.T. Model ซึ่งเป็นกรอบแนวคิดบูรณาการที่ผสาน IDGs กับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ประกอบด้วย H=การพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม, E=รากฐานของคุณธรรมจริยธรรม, A=การเชื่อมโยงการเติบโตภายในและภายนอก, R=หยั่งรากในภูมิปัญญาท้องถิ่น และ T=การประยุกต์ใช้เพื่อการเปลี่ยนแปลงอย่างลึกซึ้ง โมเดลนี้สามารถนำไปใช้พัฒนาคุณภาพมนุษย์ในระดับบุคคล องค์กร และนโยบายได้อย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

 

References

พระมหาชาตรี เชื้อบุญจันทร์, พงษ์ศักดิ์ เพชรสถิต และปัญญวัฒน์ จุฑามาศ. (2567). แนวทางการจัดการองค์กรคณะสงฆ์ในประเทศไทยภายใต้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสถาบันวิจัยพิมลธรรม, 11(2), 1–15.

เมธา หริมเทพาธิป และรวิช ตาแก้ว. (2566). สังคมแห่งการแบ่งปันตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วารสารพุทธมัคค์ ศูนย์วิจัยธรรมศึกษา สำนักเรียนวัดอาวุธวิกสิตาราม, 8(1), 54–65.

เมธา หริมเทพาธิป, ชัยโรจน์ นพเฉลิมโรจน์ และวัชรารัศมิ์ สุนทรวนาเวศ. (2566). ภูมิสังคม: การศึกษาเชิงวิเคราะห์ วิจักษ์ และวิธาน. วารสารวิจัยธรรมศึกษา, 6(2), 64–77.

สุพิชฌาย์ พรพิชณรงค์, พระเทพวชิรโกศล (เทพธีรวงศ์ ไกรวาสไชยวงษ์) และพระธรรมวชิราจารย์ (สุชาติ หวลจิตต์). (2567). การบูรณาการหลักพุทธธรรมและศาสตร์พระราชาเพื่อพัฒนาชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 6(3), 609–622.

สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2559). หลักการทรงงานในพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร. (พิมพ์ครั้งที่ 11). กรุงเทพฯ : สำนักงาน กปร.

ศิริ ถีอาสนา และเสน่ห์ คำสมหมาย. (2560). อภิธานศัพท์: ศาสตร์พระราชา (ในหลวงทรงสอนอะไร). วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 11(ฉบับพิเศษ), 19–32.

Ankrah, D., Bristow, J., Hires, D.& Henriksson, J. A. (2023). Inner development goals: From inner growth to outer change. Field Actions Science Reports, (25), 82–87.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

04/30/2025

How to Cite

กันยาวิริยะ ช., & กันยาวิริยะ ส. . (2025). ศึกษาเปรียบเทียบเป้าหมายการพัฒนาจากภายในกับปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารสถาบันพอดี, 2(4), 33–44. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/IS-J/article/view/1780