ความสัมพันธ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับความยึดมั่นผูกพันกับองค์กรของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • วีระชาติ กุลสุวรรณ สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • ในตะวัน กำหอม สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข
  • ทิพย์วรรณ มูลศาสตร์ สาขาวิชาบริหารการศึกษา คณะสังคมศาสตร์และศึกษาศาสตร์ วิทยาลัยทองสุข

คำสำคัญ:

การบริหารแบบมีส่วนร่วม, ความยึดมั่นผูกพันกับองค์กร, การบริหาร

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) ศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วม 2) ศึกษาระดับความยึดมั่นผูกพันกับองค์กร 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับความยึดมั่นผูกพันกับองค์กรของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ บุคลากรทางการศึกษา จำนวน 385 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูล การหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาความสัมพันธ์โดยใช่ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การบริหารแบบมีส่วนร่วมของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยภาพรวมนั้นอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบอันดับที่ 1 คือ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ รองลงมา คือด้านการมีส่วนร่วมในการปฏิบัติ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ และอันดับสุดท้ายคือด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ตามลำดับ 2) ความยึดมั่นผูกพันกับองค์กรของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่า อันดับที่ 1 คือ ด้านความยึดมัน่ผูกพันด้านจิตใจ รองลงมาคือด้านความยึดมั่นผูกพันด้านการคงอยู่ และอันดับสุดท้ายคือ ด้านความยึดมันผูกพันด้านบรรทัดฐาน ตามลำดับ 3) การบริหารแบบมีส่วนร่วมมีความสัมพันธ์กับความยึดมั่นผูกพันกับองค์กรของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ในทางบวกอยู่ในเกณฑ์ระดับปานกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

References

กฤตภาคิน มิ่งโสภา. (2565). ความผูกพันในงานของบุคลากรทางการศึกษา ในสถาบันอุดมศึกษาภาคเอกชนไทย. วารสาร Strategic Perspectives on Business and Marketing Management, 9(1), 1-18.

จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2556). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.

ธงชัย สันติวงษ์. (2525). การบริหารงานบุคคล. กรุงเทพฯ : ไทยพานิช

ในตะวัน กำหอม. (2559). การวิจัยทางการศึกษา.เล่ม 1. กรุงเทพฯ : วิทยาลัยทองสุข. โรงพิมพ์ทีคอม.

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). การบริหารงานวิชาการ.กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

พันธุ์วีร์ พันธุ์อำไพ (2561) ความผูกพันต่อองค์การของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา Generation X และ Generation Y ในวิทยาลัยอาชีวศึกษาสงขลา จังหวัดสงขลา. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เพ็ญโฉม โพธิจักร. (2564). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานสถานศึกษาของชุมชน โรงเรียนชุมชนบ้านขวาว อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต: วิทยาลัยทองสุข.

รุจิร์ ภู่สาระ และจันทรานี สงวนนาม. (2545). การบริหารหลักสูตรในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: บุ๊คพอยท์

สรวิศ จันพุ่ม. (2562). ความสัมพันธ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมของผู้บริหารสถานศึกษากับการทำงานเป็นทีมของ ครูในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กระบี่. วารสาร Strategic Perspectives on Business and Marketing Management, 11(1), 71-81.

สร้อยนภา กล้วยเครือ. (2558). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการบริหารงานของโรงเรียนบ้านหนองโสน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต : วิทยาลัยทองสุข.

สุพิเชษฐ์ ตองอ่อน. (2562). อิทธิพลของความยึดมั่นผูกพันต่อองค์การ คุณลักษณะงาน ภูมิคุ้มกันทางจิต และอายุการ ทางานที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของบุคลากร มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัยม. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการ : มหาวิทยาลัยศิลปากร

โสมย์สิรี มูลทองทิพย์. (256). ความผูกพันต่องค์กรของบุคลากรที่ปฏิบัติงานในโรงเรียนมัธยมศึกษาอำเภอท่ามะกา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการภาครัฐและเอกชน บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2566). รายงานสถานการณ์การศึกษาไทย ปี 2566. กรุงเทพฯ: สกศ.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. (2568). รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566: การบริหารงานบุคคลของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา. สำนักงาน ก.ค.ศ. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : otepc.go.th [20 มิถุนายน 2568].

อนงค์ศิริ โรจนโสดม. (2561). ปัจจัยทีส่งผลต่อความผูกพันต่อองค์การของครูโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 17(76), 56-66.

อำภา สมันพืช. (2561). การมีส่วนร่วมในการบริหารกับความยึดมั่นผูกพันกับองค์การ ของครูในสถาบันการอาชีวศึกษา กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. คณะศึกษาศาสตร์ : มหาวิทยาลัยสยาม.

Best, J. W. (1977). Research in education (3rd ed.). Englewood Cliffs, NJ: Prentice-Hall.

Krejcie, R.V. and Morgan, D.W. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Meyer, J. P., & Allen, N. J. (1991). A three-component conceptualization of organizational commitment. Human Resource Management Review, 1(1), 61-89. https://doi.org/10.1016/1053-4822(91)90011-Z

เผยแพร่แล้ว

06/30/2025

How to Cite

กุลสุวรรณ ว., กำหอม ใ., & มูลศาสตร์ ท. (2025). ความสัมพันธ์ของการบริหารแบบมีส่วนร่วมกับความยึดมั่นผูกพันกับองค์กรของบุคลากรทางการศึกษา สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. วารสารสถาบันพอดี, 2(6), 14–24. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/IS-J/article/view/1616