ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

บุญเพ็ง สิทธิวงษา

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี และ (3) แนวทางความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ บุคลากรในหน่วยงานส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี จำนวน 394 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณโดยใช้วิธีการคัดเลือกตัวแปรแบบเป็นลำดับขั้น ผลการวิจัย พบว่า (1) ความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (equation= 3.02, SD = 0.16) พิจารณาเป็นรายข้อเรียงจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านจรรยาบรรณ (equation = 3.34, SD = 0.75) ด้านวิสัยทัศน์ (equation = 3.29, SD = 0.45) ด้านคุณธรรม (equation = 3.04, SD = 0.54) ตามลำดับ (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้แก่ ด้านการสนับสนุนจากผู้บริหาร (X5) ด้านแรงจูงใจ (X4)  ด้านการมีส่วนร่วม (X1) มีค่าสัมประสิทธิ์ของตัวพยากรณ์ในคะแนนดิบ (b)
เท่ากับ .348, .302 และ –.060 ตามลำดับ และ (3) ควรมีการพัฒนาบุคลากรให้มีวิสัยทัศน์ในองค์กร สร้างมนุษยสัมพันธ์ในองค์กรกับบุคลากร ให้คำแนะนำในการทำงานเกี่ยวกับการหน้าที่อยู่เสมอ ทั้งให้ความช่วยเหลือแก่เพื่อนร่วมงานในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ตามเจตนรมณ์และวิสัยทัศน์ของหน่วยงานท้องถิ่น พัฒนาส่งเสริมคุณธรรมให้กับบุคลากรในหน่วยงานท้องถิ่นอย่างจริงจัง และพัฒนาบุคลากรให้มีจรรยาบรรณในการปฏิบัติหน้าที่ในการทำงานอย่างเป็นรูปธรรม และสร้างความตะหนักในการนำจรรยาบรรณในองค์กรไปปรับใช้อย่างมีประสิทธิผล

Article Details

How to Cite
สิทธิวงษา บ. (2024). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความต้องการในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุดรธานี. วารสารนครรัฐ, 1(2), 1–10. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/CS_J/article/view/441
บท
บทความวิจัย

References

กัลยา วานิชย์บัญชา. (2542). การวิเคราะห์สถิติ: สถิติเพื่อการตัดสินใจ (พิมพ์ครั้งที่ 4). โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.

คณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (2551). แผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551 และแผนปฏิบัติการกำหนดขั้นตอนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (ฉบับที่ 2). สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี.

จิติมา วรรณศรี. (2550). รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2552). การบริหารการศึกษา. ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

เนตร์พัณณา ยาวิราช. (2551). จริยธรรมธุรกิจ: Business ethics (พิมพ์ครั้งที่ 2). ทริปเพิ้ล กรุ๊ป.

ประพันธ์พงศ์ ชิณพงษ์. (2551). อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว. มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.

ปิยลักษณ์ วรโภชน์. (2553). การศึกษาความต้องการพัฒนาตนเองของบุคลากรท้องถิ่น เทศบาลตำบลเสลภูมิ อำเภอเสลภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ด. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.

พจน์ พจนพาณิชย์กุล. (2556). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงานของบุคคล. ค้นจาก https://pubhtml5.com/ibaa/oxdz/basic

เพ็ญนภา ปาละปิน. (2555). ความก้าวหน้าในเส้นทางอาชีพของปลัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภาสกร เรืองวานิช. (2555). หลักการจัดการพัฒนาสายงานอาชีพ. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ภิญญดา บูรณสมภพ. (2550). ความต้องการในการพัฒนาตนเองของบุคลากรท้องถิ่นในเขตอำเภอเมือง จังหวัดปัตตานี. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น), มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สันติชัย เอื้อจงประสิทธิ์. (2551). สาระสำคัญของการมีส่วนร่วมของบุคลากร. สามเจริญพาณิชย์.

สำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น. (2552). รายงานประจำปี 2551 ของคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคลส่วนท้องถิ่น (ก.ถ.) และสำนักงานคณะกรรมการมาตรฐานการบริหารงานบุคคลส่วนท้องถิ่น (สำนักงาน ก.ถ.). ผู้แต่ง.

สุวิทย์ สองห้อง. (2553). การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรกองช่าง องค์การบริหารส่วนจังหวัดปทุมธานี. การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (การปกครองท้องถิ่น), มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

Brown, R. (1978). Social psychology. Free Press.

Crider, A. B., Goethals, G. R., & Kavanaugh, R. D. (1983). Psychology. Scott, Foresman and Company.

Domjan, M., Grau, J. W., & Krause, M. A. (2006). The principles of learning and behavior (5th ed.). Thomson/Wadsworth.

Drake, T. L., & Roe, W. H. (1986). The principalship (3rd ed.). Macmillan.

Gilmer, B. H. (1967). Applied psychology: Problems in living and work. McGraw-Hill.

Good, C. V. (Ed.). (1973). Dictionary of education (3rd ed). McGraw-Hill.

Hupcey, J. E. (1998). Clarifying the social support theory-research linkage. Journal of Advance Nursing, 27(6), 1231-1241.

Lovell, R. B. (1980). Adult learning. Croom Helm.

Meyer, J. P., Allen, N. J., & Smith, C. A. (1993). Commitment to organizations and occupations: Extension and test of a three-component conceptualization. Journal of Applied Psychology, 78(4), 538-551.

Tardy, C. H. (1985). Social support measurement. American Journal of Community Psychology, 13(2), 187-202.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis (3rd ed). Harper & Row.