ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ

Main Article Content

ณรงค์ จิตรัมย์
ชนมณี ศิลานุกิจ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อระดับภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ และเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ ปีการศึกษา 2566 จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามที่มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง 0.80-1.00 และมีค่าค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีการของเชฟเฟ่ ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก และ (2) ครูที่มีเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ โดยภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
จิตรัมย์ ณ., & ศิลานุกิจ ช. (2024). ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตบางกะปิ. วารสารนครรัฐ, 1(2), 11–22. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/CS_J/article/view/275
บท
บทความวิจัย

References

เกียรติศักดิ์ แก้วมหาชัย. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยบูรพา.

คมกฤช ประการะสังข์. (2559). ภาวะผู้นำแบบผู้รับใช้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมในการบริหารงานของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.

คมธนู ควรประเสริฐ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารกับแรงจูงใจในการทำงานของครู โรงเรียนเอกชนในเครือเซนต์มารีอา. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

ชัยยนต์ เพาพาน. (2559). แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐานการเป็นผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21. วารสารบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 12(1), 1-9.

ณัฎฐา ปัทมานุสรณ์. (2564). ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ทิพสุคนธ์ บุญรอด. (2563). ภาวะผู้นำมุ่งบริการของผู้บริหารสถานศึกษากับคุณภาพชีวิตการทำงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ธนบดี ศรีโคตร. (2562). สภาพและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารจัดการการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 10). สุวีริยาสาส์น.

ปองภพ ภูจอมจิตร. (2565). ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา. วารสารวิชาการรัตนบุศย์, 4(3), 373-386.

พิชชาภา นพรัตน์ และจรัส อติวิทยาภรณ์. (2561). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 3. ใน การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 9 (หน้า 1194-1206), มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วราพร จะรอนรัมย์. (2563). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

วริศรา ตู้จินดา และชนมณี ศิลานุกิจ. (2566). ภาวะผู้นำแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1. วารสารนิติรัฐ, 1(1), 13-22.

วิโรจน์ สารรัตนะ, พระครูสุธีจริยวัฒน์, พระครูธรรมาภิสมัย, พระมหาศุภชัย สุภกิจฺโจ, พระณัฐวุฒิ สัพโส และวิทูล ทาชา. (2561). ภาวะผู้นำสำหรับศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 20(1), 261-271.

ศิรินทิพย์ เพ็งสง. (2563). ภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารจัดการการศึกษา), มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และสรายุทธ กันหลง. (2553). ภาวะผู้นำใฝ่บริการในองค์การ: แนวคิด หลักการ ทฤษฎี และงานวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 2). คลังนานาวิทยา.

สุพรรณนิภา นามกันยา, พิมพ์อร สดเอี่ยม และสุภชัย จันปุ่ม. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำใฝ่บริการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 2. วารสารราชพฤกษ์, 14(2), 122-129.

อรุณ พรหมจรรย์. (2555). การพัฒนารูปแบบภาวะผู้นําแบบใฝ่บริการของผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (บริหารการศึกษา), มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

Cohen, L., Manion, L., & Morrison, K. (2018). Research methods in education (8th ed.). Routledge.

Greenleaf, R. K. (1977). Servant leadership: A journey into the nature of legitimate power and greatness. Paulist.

Spears, L. C. (2004). Practicing servant-leadership. Leader to Leader, 34, 7-11.