องค์กรแห่งความสุขตามทัศนคติของบุคลากรในสังกัดสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อองค์กรแห่งความสุขของบุคลากรในสังกัดสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ และศึกษาทัศนคติของบุคลากรในสังกัดสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพที่มีต่อองค์กรแห่งความสุข การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยผสมวิธีระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บังคับบัญชาทุกระดับ ข้าราชการ/พนักงานราชการ และลูกจ้างทุกประเภท ในสังกัดสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ ประจำปี พ.ศ. 2567 (ส่วนกลาง) จำนวน 66 คน ผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่ใช้ในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ ผู้อำนวยการกลุ่ม ข้าราชการ/พนักงานราชการ ลูกจ้างทุกประเภท ในสังกัดสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ ประจำปี พ.ศ. 2567 (ส่วนกลาง) จำนวน 6 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 0.60-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการวิเคราะห์เปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีทดสอบของฟิชเชอร์ ผลการวิจัย พบว่า บุคลากรในสังกัดสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพที่มีเพศ ตำแหน่ง และประสบการณ์การทำงานต่างกัน มีผลต่อองค์กรแห่งความสุข โดยภาพรวมไม่ต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีวุฒิการศึกษาต่างกัน มีผลต่อองค์กรแห่งความสุข โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านทัศนคติกับองค์กรแห่งความสุข โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกอยู่ในระดับปานกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารเป็นความคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้นิพนธ์ ไม่เกี่ยวข้องกับสำนักงานกฎหมายกัญจนรัตน
References
เกียรติพงศ์ ศิรินิภาวงศ์. (2564). ภาวะผู้นำและองค์กรแห่งความสุขที่มีความสัมพันธ์ต่อความผูกพันต่อองค์กรและประสิทธิภาพในการทำงานของพนักงานธนาคารกรุงเทพ สายบัตรเครดิต สำนักงานใหญ่. สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการ), มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ชาญวิทย์ วสันต์ธนารัตน์ และธีร์ธรรม วุฑฒิวัตรชัยแก้ว. (2559). มาสร้างองค์กรแห่งความสุขกันเถอะ ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2559. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ.
ณัฐพงษ์ น้อยโคตร. (2565). แนวทางการพัฒนาสถานศึกษาสู่องค์กรแห่งความสุข สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามหาสารคาม เขต 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต (การบริหารและพัฒนาการศึกษา), มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ณัฐพันธ์ มีมุข. (2560). อิทธิพลขององค์กรแห่งความสุขที่ส่งผลต่อความผูกพันในองค์กรของบุคลากรมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต (การจัดการ), มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (2560). แผนพัฒนาการอาชีวศึกษา พ.ศ. 2560-2579. ผู้แต่ง.
Harter, J. K., Schmidt, F. L., & Hayes, T. L. (2002). Business-unit-level relationship between employee satisfaction, employee engagement, and business outcomes: A meta-analysis. Journal of Applied Psychology, 87(2), 268-279.
Miner, J.B. (1992). Industrial organization psychology. McGraw-Hill.
Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30, 607-610.
Cronbach, L. J. (1951). Coefficient alpha and the internal structure of tests. Psychometrika, 16(3), 297-334.
Likert, R. (1932). A technique for the measurement of attitudes. Archives of Psychology, 22(140), 5-55.
Lindner, J. R., & Lindner, N. J. (2024). Interpreting Likert-type scales, summated scales, unidimensional scales, and attitudinal scales: I neither agree nor disagree, Likert or not. Advancements in Agricultural Development, 5(2), 152-163.