การประยุกต์ใช้หลักการ 7R ทางด้านโลจิสติกส์ในเทคโนโลยีการขนส่งสินค้าชุมชนของธุรกิจอิสลามเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ
คำสำคัญ:
หลักการ 7R, โลจิสติกส์, การขนส่งสินค้าชุมชน, ธุรกิจอิสลาม, การพัฒนาเศรษฐกิจบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มุ่งเน้นศึกษาการประยุกต์ใช้หลักการ 7R ในการจัดการโลจิสติกส์ โดยเฉพาะในเทคโนโลยี การขนส่งสินค้าชุมชนสำหรับธุรกิจอิสลาม ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจในชุมชนท้องถิ่น การวิจัยนี้สำรวจและวิเคราะห์การใช้หลักการ 7R ได้แก่ การจัดส่งสินค้าให้ถูกต้องตามที่ลูกค้าต้องการ (Right Product) ในปริมาณที่เหมาะสม (Right Quantity) ในสภาพที่ดี (Right Condition) ไปยังสถานที่ที่ถูกต้อง (Right Place) ในเวลาที่เหมาะสม (Right Time) ให้กับลูกค้าที่ถูกต้อง (Right Customer) และควบคุมต้นทุนการขนส่งให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม (Right Cost) การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพและปริมาณ รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการธุรกิจอิสลามในชุมชนและการสำรวจข้อมูลจากผู้บริโภค ผลการวิจัยพบว่า การนำหลักการ 7R มาใช้ในการจัดการเทคโนโลยีการขนส่งสินค้า สามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการดำเนินธุรกิจ อีกทั้งยังส่งเสริมการพัฒนาเศรษฐกิจของชุมชนท้องถิ่นได้อย่างยั่งยืน ข้อเสนอแนะของงานวิจัยนี้เน้น การพัฒนาเทคโนโลยีและระบบโลจิสติกส์ที่สอดคล้องกับหลักศาสนาและวัฒนธรรมของชุมชนอิสลามเพื่อสร้างความเข้มแข็งและยั่งยืนในระดับท้องถิ่น
References
คณะอนุกรรมการยุทธศาสตร์เศรษฐกิจฐานราก. (2559). คู่มือการส่งเสริมการพัฒนาระบบเศรษฐกิจฐานราก. กรุงเทพมหานคร: สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน และสำนักสื่อสารการพัฒนา สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน (องค์การมหาชน).
คำนาย อภิปรัชญาสกุล. (2550). โลจิสติกส์และการจัดการซัพพลายเชน : กลยุทธ์สำหรับลดต้นทุนและเพิ่มกำไร. กรุงเทพฯ : ซี วาย ซิซเทิม พริ้นติ้ง.
ทอแสงระวี ถีถะแก้ว. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนบนวัฒนธรรมเศรษฐกิจฐานรากในพื้นที่ฝั่งตะวันออกจังหวัดปทุมธานี. วารสารมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. สำนักพิมพ์ สถาบันยุทธศาสตร์ทางปัญญาและวิจัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ.
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2554). บทบาทและหน้าที่ของโลจิสติกส์แมเนเจอร์ (Who ’s Logistics Manager). [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://logistics2day.net/App_Website/community/blog.aspx?id=562. สืบค้น 15 กุมภาพันธ์ 2562.
ทวีศักดิ์ เทพพิทักษ์. (2550). การจัดการโลจิสติกส์และซัพพลายเชน. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์เอ็กซเปอร์เน็ท.
ธนิต โสรัตน์. (2554). โหมดการขนส่งทางถนน (Truck / Road Transport). [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.tanitsorat.com/view.php?id=54 สืบค้น 3 พฤษภาคม 2557.
รุธีร์ พนมยงค์. (2550). การจัดการและการบริหารความสัมพันธ์กับผู้ส่งมอบในโซ่อุปทาน. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ไอทีแอล เทรด มีเดีย.
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งเละจราจร. (2551). การขนส่งสินค้าทางถนน ว่าด้วยเรื่องรถบรรทุก พรบ.ขนส่งทางบก ปี 2522. [Online]. เข้าถึงได้จาก : http://www.truck. in.th/forum/index.php?topic=570.0 สืบค้น 3 พฤษภาคม 2557.
จักรกฤษณ์ ดวงพัสตรา. (2543). หลักการขนส่ง. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ซูนิล ซอฟปรา. (2546). การจัดการโซ่อุปทาน Supply chain management : strategy, planning. เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
Stock, J.R., Lambert, D.M. (2001), Strategic Logistics Management, 4th edition, McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 Internatinal Islamic College Bangkok, Krik University

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธ์ของวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ และคณาจารย์ท่านอื่น แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียน