ปอเนาะในกรุง: ชีวอำนาจและวิถีชีวิตของเด็กปอเนาะ

ผู้แต่ง

  • นาตาลี อาจหาญ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • นาตาชา ลำดวน คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

คำสำคัญ:

ปอเนาะ, เด็กมุสลิม, ชีวอำนาจ, วิถีชีวิต, สังคมเมือง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

เมื่อโรงเรียนปอเนาะที่เคยถูกมองว่าเป็นพื้นที่ศาสนาในชนบท ย้ายเข้ามาอยู่กลางกรุงเทพฯ ชีวิตของเด็กปอเนาะก็เปลี่ยนตามไปด้วย บทความวิชาการชิ้นนี้ศึกษาวิถีชีวิตของนักเรียนในโรงเรียนปอเนาะแห่งหนึ่งย่าน ห้วยขวาง ผ่านการสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสัมภาษณ์เชิงลึก และการเก็บข้อมูลจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ผลการศึกษาเผยให้เห็นความซับซ้อนของการเป็น “เด็กปอเนาะในเมือง” ที่ต้องอยู่ระหว่างความศรัทธาและแรงดึงดูดจากโลกภายนอก โรงเรียนมีระบบการจัดการที่ทันสมัย  แต่ยังยึดถือวินัยและบทเรียนทางศาสนาอย่างเข้มข้น ตารางชีวิตในแต่ละวันถูกออกแบบอย่างแน่นหนา ตั้งแต่การละหมาดตอนตีสี่ไปจนถึงการเรียนศาสนาในตอนเย็น ซึ่งเป็นกลไกที่หล่อหลอมพฤติกรรม ถึงแม้ไม่มีใครบังคับ เด็ก ๆ ก็ยังดำเนินชีวิตตามระเบียบเหล่านั้น ได้อย่างเป็นธรรมชาติ งานนี้นำแนวคิด “ชีวอำนาจ” ของมิเชล ฟูโกต์ มาใช้ในการอธิบายว่า อำนาจของโรงเรียนไม่ได้อยู่ที่คำสั่ง แต่ฝังอยู่ในวิถีชีวิตของนักเรียนอย่างแนบเนียน พร้อมกันนั้น เด็กปอเนาะในเมืองก็กำลังฝันถึงอนาคตใหม่ ทั้งในโลกหน้าและโลกนี้ ในขณะที่ยังคงศรัทธาเดิมไว้ไม่เปลี่ยน

References

บรรณานุกรม

Jiménez, M. A., & Valle Vázquez, A. M. (2015). Biopower and education: Self-care, subject and truth. Sisyphus — Journal of Education, 3(3), 132–155. https://doi.org/10.25749/sis.10398

จารุณี วงศ์ละคร. (2561). อำนาจชีวะในทัศนะของมิเชล ฟูโกต์. วารสารปณิธาน, 14(1), 135–162. https://so05.tci-thaijo.org/index.php/panidhana/article/view/151883

มูฮัมหมัด เนสะและ. (2564). เอกสารประกอบการสอนวิชา การสอนเตาฮีด. มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา. https://profile.yru.ac.th/storage/academic-documents/October2021/88AuisYPXTxL1o06qF4R.pdf

สุเทพ โชคบุญธิยานนท์. (2552). การใช้ปอเนาะเป็นศูนย์กลางในการสร้างความสมานฉันท์ชุมชน กรณีศึกษา ปอเนาะลาคอมูดอ ตำบลจะแหน อำเภอสะบ้าย้อย จังหวัดสงขลา. กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. https://www.m-society.go.th/ewtadmin/ewt/mso_web/article_attach/728/1035.pdf

อับบัส ยีรัน. (2559). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการคงสภาพระบบดั้งเดิมของสถาบันศึกษาปอเนาะในอำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์]. https://dspace.psu.ac.th/handle/2010/11559

อัสสัดลาน, ศ. ฆ. (2535). ฟิกฮฺอย่างง่าย (อ. ยาชะรัด และ ฟ. อับดุลฮาด, ผู้แปล). Islamhouse. https://d1.islamhouse.com/data/th/ih_books/single/th_Resalah_fe_elfiqh_elmuyassar.pdf

อิบรอฮีม ณรงค์รักษาเขต, นุมาน หะยีมะแซ, มูฮามัสสกรี มันยูนุ, & ฮานาฟี วงษ์หลี. (2566). บทบาทของปอเนาะและมัดระซะฮ์ในการธำรงไว้ซึ่งภาษามลายูอักขระญาวีในจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย. วารสารอิสลามศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, 14(2), 1-21. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JOIS/article/view/264627

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2025-06-27

How to Cite

อาจหาญ น. ., & ลำดวน น. (2025). ปอเนาะในกรุง: ชีวอำนาจและวิถีชีวิตของเด็กปอเนาะ. วารสารอิสลามแห่งประเทศไทย, 2(1), 111–129. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/TIJ/article/view/1861