แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่พักของผู้ประกอบกิจการฮัจย์ไทย
คำสำคัญ:
การยกระดับ, คุณภาพการบริการฮัจย์, ผู้ประกอบกิจการฮัจย์บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการที่พักของผู้ประกอบกิจการฮัจย์ไทย วิธีการดำเนินการวิจัยแบบผสมผสาน (Mix Methods) กลุ่มตัวอย่าง ผู้แสวงบุญชาวไทยมุสลิมในการประกอบพิธีฮัจย์ ณ ประเทศซาอุดีอาระเบีย พ.ศ. 2567 จำนวน 400 คน และสัมภาษณ์ผู้บริหารผู้ประกอบกิจการฮัจย์ จำนวน 5 ท่าน สถิติพรรณาประกอบด้วยค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) สถิตเชิงอนุมาน วิเคราะห์สมการถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า ส่วนประสมทางการตลาด 7P’ ส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการบริการฮัจย์ของผู้ประกอบกิจการฮัจย์ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการที่แตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญที่ระดับสถิติ 0.05 จริยธรรมของผู้ประกอบกิจการและภาวะผู้นำส่งผลต่อการยกระดับคุณภาพการบริการฮัจย์ของผู้ประกอบกิจการฮัจย์ ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการที่แตกต่างกัน พบว่า จริยธรรมของผู้ประกอบกิจการและภาวะผู้นำ มีค่านัยสำคัญ 0.000 มีผลต่อต่อการยกระดับคุณภาพการบริการฮัจย์ของผู้ประกอบกิจการฮัจย์ ปัจจัยด้านคุณภาพการให้บริการ ผลการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ พบว่า ผู้บริหารมีความกังวลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายต่อตลอดของการเดินทาง เพราะว่าปัจจุบันมีราคาที่สูงขึ้น และผู้บริหารส่วนใหญ่ปรับปรุงและพัฒนากิจการตนเองอยู่เสมอ ให้มีความทันสมัยและสามารถรองรับลูกค้าได้
References
บรรณานุกรม
จิราพร เปี้ยสินธุ. (2564). ตาบุงฮัจย์กับความยั่งยืนในการประกอบพิธีฮัจย์ของประเทศมาเลเซีย. วารสารสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 47(2), 45–58.
ดารณี อาจหาญ. (2562). การยกระดับมาตรฐานปลอดภัยด้านสุขอนามัยการท่องเที่ยวที่พักชุมชนวัฒนธรรมยั่งยืนหลังสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 19(2), 186–202.
ปุญญาพร บุญธรรมมา. (2563). คุณภาพการบริการและพฤติกรรมการเข้าพักที่มีผลต่อความตั้งใจในการใช้บริการโรงแรมขนาดกลางในอำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. [วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร]. http://nuir.lib.nu.ac.th/dspace/handle/90227/2769
มาโนช พรหมปัญโญ. (2560). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการบริษัทนำเที่ยวเพื่อประกอบกิจการฮัจย์ในประเทศไทย. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร]. http://ithesis-ir.su.ac.th/dspace/handle/123456789/1598
อารีฝีน ยามา. (2565). การบริหารจัดการฮัจย์ของซาอุดีอาระเบีย: สำรวจปัญหาการดำเนินกิจการฮัจย์ของไทย และรูปแบบการจัดการของอินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา, 16(3), 82–96.
อนุวัฒน์ มาหะมะ. (2564). แนวทางการให้บริการผู้โดยสารชาวมุสลิม ณ ท่าอากาศยาน. [วิทยานิพนธ์การจัดการมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี]. http://sutir.sut.ac.th:8080/sutir/handle/123456789/8821
Juran, J. M., & Gryna, F. M. (1993). Quality planning and analysis: From product development through use (3rd ed.). McGraw-Hill.
Kotler, P., & Keller, K. L. (2016). Marketing management (15th ed.). Pearson Education.
Zeithaml, V. A., & Bitner, M. J. (2000). Services marketing: Integrating customer focus across the firm (2nd ed.). McGraw-Hill.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2025 Internatinal Islamic College Bangkok, Krik University

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
วารสารที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธ์ของวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ มหาวิทยาลัยเกริก
ข้อความที่ปรากฎในบทความแต่ละเรื่องในวารสารวิชาการเล่มนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวของผู้เขียนแต่ละท่านไม่เกี่ยวข้องกับวิทยาลัยนานาชาติอิสลามกรุงเทพ และคณาจารย์ท่านอื่น แต่อย่างใด ความรับผิดชอบองค์ประกอบทั้งหมดของบทความแต่ละเรื่องเป็นของผู้เขียน