รามยอน : อุตสาหกรรมวัฒนธรรมในซีรีส์เกาหลี
คำสำคัญ:
รามยอน, ซีรีส์เกาหลี, อุตสาหกรรมวัฒนธรรม, การทำให้วัฒนธรรมกลายเป็นสินค้าบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารามยอนจากซีรีส์เกาหลีโดยใช้แนวความคิดเรื่องวัฒนธรรมอุตสาหกรรมและการทำให้วัฒนธรรมกลายเป็นสินค้าเพื่อวิเคราะห์การผลิต การเผยแพร่ และการครอบงำของวัฒนธรรมด้านอาหารของเกาหลี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “รามยอนที่เป็นอาหารมื้อดึก” ซึ่งแพร่หลายไปทั่วโลกและกลายเป็นไวรัลในหมู่คนเกาหลีจนกลายเป็นวิถีชีวิตของเขา ระเบียบวิธีการศึกษาเป็นแบบเชิงคุณภาพ โดยการใช้เอกสารต่างๆ และข้อมูลจากซีรีส์เกาหลี ยูทูป และสื่อทางสังคมอื่นๆ ผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ที่กล่าวข้างต้นสามารถอธิบายได้ 3 ประการ คือ (1) ซีรีส์เกาหลี ยูทูป และศิลปินเคป๊อบช่วยสร้างและผลิตซ้ำภาพลักษณ์ความอร่อยของรามยอนทั้งในประเทศและต่างประเทศ เช่น ภาพลักษณ์รามยอนที่อร่อย ภาพลักษณ์ของการรับประทานรามยอนร้อนๆ อย่างเอร็ดอร่อย... การสูดกินเส้นรามยอนเสียงดัง ๆ ภาพลักษณ์ของกิจกรรมแห่งความสุข (การปรุงและรับประทานรามยอม) ซึ่งทุกคนสามารถทำได้ด้วยตัวเองอย่างง่ายๆ (2) สื่อต่างๆ ทางสังคมที่กล่าวแล้วนำการบริโภครามยอนไปสู่อุตสาหกรรมเชิงวัฒนธรรมและทำให้วัฒนธรรมกลายเป็นสินค้า เมื่อรามยอนนำรายได้มหาศาลมาสู่เศรษฐกิจเกาหลี (3) รามยอนส่งผลกระทบระยะยาวต่อสุขภาพ เพราะรามยอนมีองค์ประกอบในระดับสูงทั้ง คาลอรี่ คาร์โบไฮเดรท และโซเดียม ซึ่งอาจทำให้เกิดโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง อัมพฤกษ์อัมพาต โรคหัวใจ ฯลฯ ข้อสรุปสุดท้ายของบทความนี้คือ อุตสาหกรรมวัฒนธรรมและการทำให้วัฒนธรรมกลายเป็นสินค้าเช่นนี้เป็นกระบวนการหลอกลวงมวลชนเพื่อมีอิทธิพลต่อประชาชนจนกลายเป็นเหยื่ออย่างมีสติและขาดเสรีภาพที่จะตื่นรู้ด้วยตัวเอง
References
นวรัตน์ ชิ้น. (2560). น้ำแข็งไสเกาหลี บิงซู (Bingsu) : ภาพสะท้อนวัฒนธรรมกระแสนิยมอาหารเกาหลีในสังคมไทย กรณีศึกษา ร้านน้ำแข็งไสบิงซูย่านสยามสแควร์. (รายงานการศึกษาเฉพาะบุคคลปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะโบราณคดี, ภาควิชามานุษยวิทยา.
Adorno, T. W. (1991). Culture industry reconsidered. In J. Berstein (Ed.), The Culture Industry. London: Routledge.
Adorno, T. W., & Horkheimer, M. (1992). Dialectics of Enlightenment. (John Cumming, Trans.). London: Verso.
BrandAge Team. (2024). “มากินรามยอนที่บ้านเราไหม?” บะหมี่กึ่งสำเร็จรูปเกาหลีทำยอดส่งออกทั่วโลกเกิน 100 ล้านดอลลาร์ได้สำเร็จแล้ว!. สืบค้นจาก https://brandage.com/article/39261
Cullen Hateberry. (2023). คนเกาหลีโชว์ 4 วิธีต้มมาม่าเกาหลีให้อร่อย (สูตรลับแต่ไม่ลับ). สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2567 จาก
https://www.youtube.com/watch?v=vr_RksZ2CyY
Siwaritemarketeer. (2022). รามยอนเกาหลีใต้อร่อยจน New High ส่งออกโตทะลุ 71 ล้านดอลลาร์. สืบค้นเมื่อ 11 กรกฎาคม 2567 จาก
https://marketeeronline.co/archives/261053
Chang, Ch. (2018). The Role of Korean Ramyeon. Retrieved 11 July 2024, from
Han, K. (2015). Noodle Odyssey: East Asia and beyond in K. O. Kim (ed) Re-orienting Cuisine: East Asian Foodways in the Twenty-First Century. New York and Oxford: Berghahn Books, 91-107.
Hamzy. (2021). Spicy Ramyun with Tteok, Mandoo / REAL SOUND / ASMR MUKBANG. Retrieved 26 July 2024, from https://www.youtube.com/watch?v=YZ9kLOzSFGI&t=309s
Kaksubbers. (2016). (Thaisub) 160928 weekly idol - GOT7 EP. 270 (2/2). Retrieved 26 July 2024, from
https://www.youtube.com/watch?v=4mRbWIrjci0
Kim, Y. (2013). Korea Wave Pop Culture in the Global Internet age, Why popular? Why now?. London and New York: Routledge.
Kim, E. G., and S. Y. Jeon (2011). Seungseungjanggu Nongshim Wuipungdangdang Samyang. Seoul: Moneyplus.
Oh, Y. (2018). The Success and the Popularity of Instant Noodle (Ramyun) in South Korea. Retrieved 11 July 2024, from https://www.grin.com/document/584815
Park, S. C., S. H. Ahn and D. H. Lee. (2015). Vulnerable science at the border of safety and risk, crisis and emergency management. Theory and Praxis. 8: 135-159.
Shin, H. J., E. Cho, H. Lee, T. T. Fung, E. Rimm, B. Rosner, J. E. Manson, K. Wheelan and F. B. Hu. (2014). Instant noodle intake and dietary patterns are associated with distinct cardiometabolic risk factors in Korea. The Journal of Nutrition. 144(8): 1247-1255.
Teichman, J. A. (2016). South Korea: Authoritarianism, democracy, and the struggle to maintain inclusive development in The Politics of Inclusive Development: Policy, State Capacity, and Coalition Building. London: Palgrave Macmillan, 132-158.
The Star. (2024). South Korea Instant Noodle Exports Hit Record High. Retrieved 6 June 2024, from
Wang, L., G. G. Hou; Y. Hsu and L. Zhou. (2011). Effect of phosphate salts on the Korean non-fried instant noodle quality. Journal of Cereal Science. 54(3): 506-512.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วิสาขา เทียมลม
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.