การนำนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลในการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยไปปฏิบัติ

ผู้แต่ง

  • ณัฐริณีย์ มีมาก นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎี (การเมือง) คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

นโยบาย, วิถีชีวิตชาวเล, ความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษากระบวนการนำนโยบายตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ในการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยไปปฏิบัติ 2) เพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรคในการนำนโยบายตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเล ในการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัยไปปฏิบัติ 3) เพื่อศึกษาผลของการนำนโยบายตามมติคณะรัฐมนตรีว่าด้วยการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลในการสร้างความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ไปปฏิบัติ การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงชาติพันธุ์วรรณนา (Ethnographic Research) โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก และการสนทนากลุ่ม โดยมีผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 20 คน   ผลการศึกษาพบว่า กระบวนการนำนโยบายการฟื้นฟูวิถีชีวิตชาวเลไปปฏิบัติมี 3 ขั้นตอนประกอบด้วยการกำหนดนโยบายถูกกำหนดขึ้นตามมติคณะรัฐมนตรีในสมัยรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ การแปลงนโยบายเป็นโครงการ หรือกิจกรรมโดยมีกระทรวงวัฒนธรรมเป็นเจ้าภาพหลักในการดูแลนโยบาย และการนำนโยบายไปปฏิบัติโดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร ร่วมกับกระทรวงต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนำนโยบายลงไปปฏิบัติในพื้นที่

                ปัญหา อุปสรรคในการนำนโยบายไปปฏิบัติมี 5 ด้านดังนี้ 1)วัตถุประสงค์ และมาตรฐานของนโยบาย 2) ทรัพยากรที่สนับสนุนการปฏิบัติตามนโยบาย 3) ลักษณะหน่วยงานที่นํานโยบายไปปฏิบัติ 4) ทัศนคติของผู้ปฏิบัติ 5) เงื่อนไขทางเศรษฐกิจ เงื่อนไขทางสังคม และเงื่อนไขทางการเมือง ส่วนผลของการนำนโยบายไปปฏิบัติ มี 3 ด้านดังนี้ 1) ความมั่นคงด้านที่อยู่อาศัย 2) ความมั่นคงทางจิตวิญญาณ และ 3) การยอมรับความมีตัวตนและวัฒนธรรมดั้งเดิมของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล

References

คณะกรรมการบูรณาการเพื่อฟื้นฟูวิถีชีวิตและแก้ไขปัญหากลุ่มชาติพันธุ์ชาวจังหวัดพังงา. (2557). ระเบียบวาระการประชุมครั้งที่ 1/2557. โรงแรมภูงาธานี จังหวัดพังงา.

คะนอง พิลุน (2549). การนำนโยบายมหาวิทยาลัยสงฆ์ไปปฏิบัติ: กรณีศึกษามหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

จุมพล หนิมพานิช. (2552). การวิเคราะห์นโยบายขอบข่ายแนวคิดทฤษฎีและกรณีตัวอย่าง (พิมพ์ครั้งที่ 4). สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ชูชาติ ปุษยะนาวิน. (2554). การนำนโยบายปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปปฏิบัติของกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ศิลปศาตร มหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

ธนภัทร โคตรสิงห์. (2556). การนำนโยบายโฉนดชุมชนไปปฏิบัติ วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

ปริญญา ยิ่งยง. (2566). การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล. วันที่ 24 ธันวาคม 2566.

ประทีป นาวารักษ์. (2566). การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล. วันที่ 20 ธันวาคม 2566.

ปรีดา คงแป้น และคณะ. (2555). วิกฤต วิถีชาวเล. กรุงเทพฯ: มูลนิธิชุมชนไท.

พงศ์ศักดิ์ เวทยาวงศ์, การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล. วันที่ 21 ธันวาคม 2566.

พจนานุกรมทางสังคมวิทยาราชบัณฑิตยสภา. (2532). ฉบับราชบัณฑิตยสภา. กรุงเทพฯ: อัมรินทร์พริ้นติ้ง.

ภาณุวัฒน์ ปานแก้ว (2561). มาตรการทางกฎหมายในการคุ้มครองสิทธิในที่ดินของกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล : กรณีศึกษา หมู่บ้านทับตะวัน อําเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

มูลนิธิชุมชนไท. (2555). วิกฤติ วิถีชาวเล. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.).

นฤมล อรุโณทัย และคณะ. (2558). “วัฒนธรรมกับการพัฒนา: ข้อสังเกตจากกรณีชาวเล”. กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยสังคม.

นฤมล อรุโณทัย, พลาเดช ณ ป้อมเพชร และจีระวรรณ บรรเทาทุกข์. (2556). แนวทางแก้ไขปัญหาความมั่นคงของมนุษย์และชุมชนพื้นที่นำร่องกลุ่มชาติพันธุ์ชาวเล. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมาชน).

ราชบัณฑิตยสถาน. (2557). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. (พิมพ์ครั้งที่ 4), กรุงเทพฯ:

ราชบัณฑิตยสถาน.

วรเดช จันทรศร. (2559). ทฤษฎีการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติ. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิคจำกัด.

วัชระ สายสมาน. (2562). การนำนโยบายความับผิดชอบต่อสังคมไปปฏิบัติ: ศึกษากรณี การพัฒนาชุมชนเชิงพื้นที่แบองค์รวมของบริษัทเอฟู๊ด [วิทยานิพนธ์ศิลปศาตร มหาบัณฑิต (พัฒนาสังคม) สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

วิทวัส เทพสง.(2566). การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล. วันที่ 2 ธันวาคม 2566.

ศิริรัตน์ แอดสกุล. (2542). รายงานการวิจัย การธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวมอญ: กรณีศึกษาชุมชนมอญบ้านม่วง ต. บ้านม่วง อ. บ้านโป่ง จ. ราชบุรี. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2527). ทักษะทางวัฒนธรรมชาวเล ร้อยเรื่องราวชาวเล. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2550). นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สภาขับเคลื่อนปฏิรูปประเทศด้านสังคม. (2558). ข้อเสนอการปฏิรูปเพื่อส่งเสริมชุมชนกลุ่มชาติพันธ์เข้มแข็ง. กรุงเทพฯ: สภาปฏิรูปประเทศ.

เสรี ซาเหลา (2545). กลุ่มชาติพันธุ์: วัฒนธรรมและประเพณี จังหวัด นครสวรรค์. นครสวรรค์: สำนักวิจัยและบริการวิชาการ สถาบันราชภัฏนครสวรรค์.

สุเชน เลิศวีรสวัสดิ์. (2562). การสัมมนาสังคมพหุวัฒนธรรมกับนวัตกรรมในการพัฒนาประเทศไทย. สำนักสภาความมั่นคงแห่งชาติ.

สุรินทร์ พิกุลทอง. (2566). การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล. วันที่ 20 ธันวาคม 2566.

สุวัฒน์ คงแป้น. (2562). ที่ดินคือชีวิต ฝ่าวิกฤตที่ดินคนจน. กรุงเทพฯ:มูลนิธิชุมชนไท.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา. (2548). รายงานผลจากการเกิดสึนามิ 2547. พังงา: สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดพังงา.

สำนักราชบัณฑิตยสภา. (2565). การกลืนกลายทางวัฒนธรรม. ค้นเมื่อ 4 เมษายน 2567, จาก https://www.orst.go.th

อภินันท์ ธรรมเสนา. (2566). การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล. วันที่ 26 ธันวาคม 2566.

อรชร เอียบใช้. (2566). การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล. วันที่ 20 ธันวาคม 2566.

อรรถพล มีเพียร. (2566). การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล. วันที่ 20 ธันวาคม 2566.

อิทธิพล ไทยกมล.(2566). การสัมภาษณ์ส่วนบุคคล. วันที่ 23 ธันวาคม 2566.

โอภาส มีเชาว์. (2561). ประสิทธิผลการการนำนโยบายสาธารณะไปปฏิบัติเพื่อชำระหนี้เงินกู้ยืมของกองทุนให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

Van Horn, Carl E., and Donald S. Van Meter. (1976). The Implementation of Intergovernmental Policy. Public Policy Making in a Federal System. Calif.: Sage Publications, Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-08-2024