กลยุทธ์การหาเสียงของพรรคการเมืองกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี

ผู้แต่ง

  • ปวีร์ เปาริก นักศึกษาหลักสูตรปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี , รูปแบบการหาเสียง, การเลือกตั้ง, พรรคการเมือง

บทคัดย่อ

ปัจจุบันรูปแบบการหาเสียงเลือกตั้งต้องอาศัยกลยุทธ์และนโยบายที่มีคุณภาพและเข้าถึงประชาชนเพื่อช่วยให้พรรคการเมืองและนักการเมืองประสบความสำเร็จ ในขณะเดียวกันนโยบายพรรคการเมืองที่นำเสนอต่อประชาชนจะต้องมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีด้วย ดังนั้นโอกาสที่พรรคการเมืองและนักการเมืองจะประสบความสำเร็จได้รับชัยชนะในการเลือกตั้ง     กลยุทธ์และนโยบายการหาเสียงจะต้องเข้าถึงและตรงใจประชาชนมากที่สุด พรรคการเมืองจะต้องศึกษากลยุทธ์ ทฤษฎีทางการเมืองต่างๆ รวมถึงการนำเทคโนโลยี สื่อออนไลน์หรือแพลตฟอร์มต่างๆ ที่ทันสมัย มาปรับใช้เพื่อช่วยในการหาเสียง ซึ่งรวมถึงการหาเสียงในรูปแบบท้องถิ่นนิยมของนักการเมืองบางพื้นที่ เช่น เป็นผู้มีอิทธิพลท้องถิ่น ความเป็นตระกูลนักการเมือง บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบการหาเสียง แนวทางการพัฒนากลยุทธ์การหาเสียง รวมถึงปัญหาอุปสรรคต่างๆ ของรูปแบบการหาเสียงของพรรคการเมือง โดยการรวบรวมข้อมูลจากผู้เกี่ยวข้อง 4 กลุ่ม ได้แก่ นักการเมือง ข้าราชการ นักธุรกิจ และประชาชนทั่วไป โดยมีเป้าหมายเพื่อให้พรรคการเมืองนำข้อมูลศึกษา วิเคราะห์ และปรับใช้กับนโยบายพรรคที่ตรงกับความต้องการของประชาชนทุกสาขาอาชีพอย่างแท้จริง และนโยบายจะต้องมีความสอดคล้องกับแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี  มีความทันสมัยเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน ไม่ขัดต่อหลักกฎหมาย ซึ่งสุดท้ายแล้ว การได้มาซึ่งนโยบายที่ดีมีคุณภาพ นอกจากประชาชนจะได้รับประโยชน์โดยตรงแล้ว นโยบายเหล่านี้จะสามารถช่วยขับเคลื่อนประเทศให้เดินไปในทิศทางที่เหมาะสมเข้ากับสถานการณ์ปัจจุบัน และพรรคการเมืองที่มีนโยบายที่มีคุณภาพก็อาจจะมีโอกาสประสบความสำเร็จมากกว่าพรรคการเมืองอื่นๆ และอาจได้รับโอกาสเป็นรัฐบาลเพื่อบริหารประเทศให้มีความเจริญก้าวหน้าทัดเทียมอารยประเทศได้ในที่สุด

References

ธนการ ดำรงรัตน์. (2562). หลักนิติธรรมกับนโยบายสาธารณะของพรรคการเมืองไทยในช่วงการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2562. กรุงเทพฯ : สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

นิรัตน์ เพชรรัตน์, อัญมณี ชูมณี, อภิชาติ มหาราชเสนา และสมชาย สาโรวาท. (2564). กลยุทธ์การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 6(1), 153-160.

นันทนา นันทวโรภาส และ รหัส แสงผ่อง. (2562). การรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองภายใต้รัฐธรรมนูญปี พ.ศ.2560: ศึกษากรณีการเลือกตั้งทั่วไป วันที่ 24 มีนาคม 2562. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. 8(2), 274-288.

ปณิชา ชาญฤทธิเสน, สุภาภรณ์ ศรีดี, หฤทัย ปัญญาวุธตระกูล และ จิตราภรณ์ สุทธิวรเศรษฐ์. (2566). กลยุทธ์การตลาดทางการเมืองในการหาเสียงเลือกตั้งของ ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหน้าใหม่ที่เป็นสตรรีของพรรคพลังประชารัฐใน เขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 7(1), 305-324.

ปวีร์ เปาริก. (2555). ฟุตบอล นักการเมือง กับการสร้างฐานรูปแบบใหม่ในการเมืองไทย. ภาคนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

พรรชรนันท์ สายจันดี, ธรรมนิตย์ วราภรณ์ และชัยยศ จินารัตน์. (2565). การรับรู้ทางการเมือง การกล่อมเกลาทางการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของเยาวชนในประเทศไทย. วารสาร Journal of Buddhist Philosophy Evolved มหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอีสเทิร์น, 6(1), 26-40.

ไพศาล นภสินธุวงศ์. (2564). สงครามและกฎการสงคราม (War and Principles of War). นาวิกาธิปัตย์สาร คลังปัญญาผู้นำ, ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2567, จาก http://www.navedu.navy.mi.th/stg/tnssc/pdf/79-sk.pdf

ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา. (2564). การกำหนดนโยบายของพรรคการเมืองไทยตามรัฐธรรมนูญพุทธศักราช 2560. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม. มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย. 6(3), 264-276.

ระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยวิธีการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561. (2562, มกราคม 11). ราชกิจจานุเบกษา, 136(6ก), 6-12.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (2560). ราชกิจจานุเบกษา, 134(40ก), 17-20.

วิกิพีเดีย, สารานุกรมเสรี. (2567). ประวัติจักรพรรดินโปเลียนที่ 1. ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2567, จาก

https://th.wikipedia.org/wiki/จักรพรรดินโปเลียนที่ 1.

วิกิพีเดีย, สารานุกรมเสรี. (2567). ประวัติพระเจ้าฟรีดริชที่ 2 แห่งปรัสเซีย. ค้นเมื่อ 17 พฤษภาคม 2567, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/ พระเจ้าฟรีดริชที่_2_แห่งปรัสเซีย

วัชรเดช เกียรติชานน. (2565). ยุทธศาสตร์ชาติกับนโยบายการพัฒนาประเทศ. วารสารสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 6(4), 319-326.

สรียา ทับทัน. (2565). ปรากฏการณ์การสื่อสารทางการเมือง:แง่มุมการศึกษา การตลาดและภาษา. วารสารครุศาสตร์อุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง. 21(2), A1-A13.

สุเมธ ตั้งประเสริฐ. (2565). กลยุทธ์และวิธีการสื่อสารของพรรคการเมืองไทยผ่านสื่อสังคมออนไลน์ในการเลือกตั้งทั่วไป พ.ศ. 2562. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 5(1), 34-35.

อริน เจียจันทร์พงษ์. (2565). กระบวนการทางการตลาดและการสื่อสารการเมืองของพรรคการเมืองไทย: ศึกษาการเลือกตั้งทั่วไปครั้งที่ 28 ของประเทศไทย (วันที่ 24 มีนาคม 2562). วารสารนิเทศศาสตร์. 40(3), 123-153.

Barton, J., Castillo, M. & Petrie, P. (2014). What Persuades Voters? A Field Experiment on Political Campaigning. The Economic Journal Oxford University, 124(574), F293-F326.

Cleary, Thomas. (2005). Sun Tzu, The Art of War. Boston: Shambhala Publishing.

Esser, Frank and Barbara Pfetsch. (2004). Comparing Political Communication, Theories, Cases and Challenges. Cambridge: The Press Syndicate of the University of Cambridge Publishing.

Lipset, Seymour Martin. (2017). Political Parties: A Sociological Study of the Oligarchical Tendencies of Modern Democracy. New York: Routledge Publishing.

North, Barbara and Robert North. (1967). Political Parties Maurice Duverger. London: Lowe & Brydone (Printers) Ltd.

Newman, Bruce I. (1994). The marketing of the president: Political marketing as campaign strategy. (1st Ed.). London: Sage Publishing.

Öztürk, Resul and Suzan Coban. (2019). Political Marketing, Word of Mouth Communication and Voter Behaviours Interaction. Business and Economics Research Journal, 10(1), 245-258.

Strohmeier, Gerd. (2013). How to win in modern electoral campaigning. European View. 12(1), 51-58.

เผยแพร่แล้ว

30-08-2024