แนวคิดและอุดมการณ์ที่มีผลต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของพรรคการเมืองไทย ระหว่างปี 2544-2566

ผู้แต่ง

  • ประสพโชค บุญมี นักศึกษาปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาการเมือง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ณัฐพงศ์ บุญเหลือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • เกรียงชัย ปึงประวัติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • นิพนธ์ โซะเฮง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

อุดมการณ์, พรรคการเมือง, ความสำเร็จหรือความล้มเหลว

บทคัดย่อ

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาแนวคิดและอุดมการณ์ของพรรคการเมืองไทยที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นพรรคการเมือง (2) วิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการหาเสียงเลือกตั้งของพรรคการเมืองไทย (3) จัดทำเสนอแนะสำหรับพรรคการเมืองที่เหมาะสมกับบริบทสังคมการเมืองไทย โดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน ประกอบด้วยการวิเคราะห์ข้อมูลเอกสาร การสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญและข้อมูลแบบสอบถาม ผลการศึกษาพบว่า (1) อุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคการเมืองไทยนับจากปี 2543 เป็นต้นมาแบ่งกลุ่มพรรคการเมืองที่มีแนวอุดมการณ์ได้ 3 ประเภท ประกอบด้วย แนวเสรีนิยมใหม่ แนวสังคมนิยมประชาธิปไตย แนวอนุรักษ์นิยม ทั้งนี้ประเภทหลังแบ่งย่อยได้เป็น อนุรักษ์นิยมแนวเสรีภาพ อนุรักษ์นิยมแนวอุปถัมภ์ อนุรักษ์นิยมแนวอำนาจนิยม และอนุรักษ์นิยมขวาใหม่ (2) อุดมการณ์ทางการเมืองของพรรคการเมืองไทยนับจากปี 2543 มีลักษณะที่เด่นชัดมากขึ้นเป็นผลจากการการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปีพุทธศักราช 2540 ที่มีเป้าหมายให้เกิดการปฏิรูปการเมืองด้วยแนวทางการส่งเสริมให้เกิดระบบพรรคการเมืองเข้มแข็งเพื่อนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลที่มีเสถียรภาพทางการเมืองและแก้ปัญหาการเมืองอ่อนแอจากระบบรัฐบาลผสมหลายพรรค มีผลทำให้พรรคการเมืองมีการปรับตัวครั้งใหญ่ด้วยการนำเสนอนโยบายและภาพลักษณ์ของพรรคการเมืองที่มีความเด่นชัดทั้งในด้านแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมือง ในขณะที่บทบัญญัติเกี่ยวกับพรรคการเมืองของรัฐธรรมนูญฉบับปี 2550 และ 2560 มีผลทำให้ระบบพรรคการเมืองอ่อนแอ  (3) อุดมการณ์ทางการเมืองแนวเสรีนิยมใหม่ ปรากฏผ่านนโยบาย พฤติกรรมทางการเมือง และการบริหารประเทศของพรรคการเมืองในการเลือกตั้งปี 2544 เป็นต้นมา มีผลต่อความสำเร็จทั้งทางตรงและทางอ้อมในการเลือกตั้ง  และแนวสังคมนิยมประชาธิปไตยมีผลความสำเร็จในการเลือกตั้งในการเลือกตั้งปี 2562 และ 2566 ในขณะที่อุดมการณ์แนวอนุรักษ์นิยมขวาใหม่มีผลต่อความสำเร็จทางการเมืองในการเลือกตั้งปี 2562 ข้อค้นพบของงานวิจัยชี้ให้เห็นว่าหากพรรคการเมืองต้องการประสบความสำเร็จทางการเมืองจำเป็นต้องนำเสนอแนวคิดและอุดมการณ์ทางการเมืองที่มีความเด่นชัดและต้องสอดคล้องความต้องการของประชาชนต้องปรากฏผ่านนโยบายพรรค พฤติกรรมทางการเมืองของพรรคและนักการเมืองที่เป็นทั้งผู้บริหารและสมาชิกของพรรค

References

เดอะโมเมนตั้ม. (2021). นโยบายปราบปรามยาเสพติดของรัฐไทย: ภาพสะท้อนความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐในกระบวนการยุติธรรม. จาก https://themomentum.co/ruleoflaw-drug-policy/

คิด วรุณดี. (2566). “อุดมการณ์ทางการเมืองสู่การพัฒนาการเมืองไทย.” ใน วารสารส่งเสริมและพัฒนาวิชาการสมัยใหม่. 1 ฉบับที่ 1 (มกราคม-กุมภาพันธ์). สืบค้นจากจาก https://doi.nrct.go.th/ListDoi/Download/634615/d41d8cd 98f00b204e 9800998ecf8427e?Resolve_DOI=10.14456/ madpiadp.2023.4

ชงคชาญ สุวรรณี และอริยธัช แก้วเกาะสะบ้า. (2548). รายชื่อสมาชิกสภาผู้แทน ราษฏร พ.ศ.2475-2548. กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฏร.

ไชยันต์ ไชยพร. (2560). จอน เอลสเตอร์กับทฤษฏีการเลือกอย่างเป็นเหตุเป็นผล. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ Way of Book.

ธนพันธ์ ไล่ประกอบทรัพย์. (2564). การพัฒนากระบวนการและเครื่องมือการกำหนดนโยบายสาธารณะของพรรคการเมืองไทย. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยการเมืองการปกครอง สถาบันพระปกเกล้า.

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2016). พรรคการเมืองกับการณรงค์ทางการเมือง. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

บีบีซีไทยออนไลน์. (2562). เลือกตั้ง 2562: ส่งนโยบายสำคัญ 9 พรรคการเมืองหลัก” (26 กุมภาพันธ์ 2019). จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-47330424

ประชาไทยออนไลน์. (2554). ผลการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2554 อย่างเป็นทางการ. สืบค้นจาก https://prachatai.com/journal/2011/07/35883

พชรวัฒน์ เส้นทอง. (2019). “อุดมการณ์ทางการเมือง: อุดมการณ์ทางการเมืองไทย.” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13(3). 230-248.

พรชัย เทพปัญญาและณัฐพงศ์ บุญเหลือ. (2563). รายงานวิจัยการศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองและพฤติกรรมการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2562 กรณีศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

พรรคก้าวไกล. (2566). รัฐบาลก้าวไกล ประเทศไทยไม่เหมือนเดิม: 300 นโยบายเปลี่ยนประเทศ. สืบค้นจาก https://election66.moveforwardparty.org/policy

สมเกียรติ วันทะนะ. (2544). อุดมการณ์ทางการเมืองร่วมสมัย. นครปฐม: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน.

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2562). ข้อมูลสถิติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร พ.ศ.2562 (24 มีนาคม 2562). เอกสารเผยแพร่. จาก https://www.ect.go.th/web - upload/migrate/download/ article/article_ 20201002121233.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2566). ผลการเลือกตั้ง ส.ส. ทั่วไป 14 พฤษภาคม 2566 จำนวน ส.ส. รวม 500. สืบค้นจาก https://ectreport66.ect.go.th/overview

อนุสรณ์ ลิ่มมณี. (2555). ทฤษฏีเศรษฐกิจการเมืองยุคปัจจุบัน พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Downs, Anthony. (1957). An Economic theory of democracy. New York: Harper and Row.

Heywood, Andrew. (1998). Political Ideologies. 2nd. London: Palgrave.

The Standard. (2023). 23 ธันวาคม 2550 – พรรคพลังประชาชนชนะเลือกตั้งหลังรัฐประหาร 2546. สืบค้นจาก https://thestandard.co/onthisday-23122023/

เผยแพร่แล้ว

30-08-2024