บทบาทคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและอิทธิพลต่อการกำหนดนโยบายทางการเมืองของพรรคการเมือง
คำสำคัญ:
คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย, การกำหนดนโยบายทางการเมือง, พรรคการเมืองบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาบทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2540 - 2566 (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์และอิทธิพลระหว่างคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยและพรรคการเมือง (3) เพื่อศึกษาแนวทางของพรรคการเมืองต่อการกำหนดนโยบายที่สอดคล้องกับคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสมผสานโดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพนำ ตามด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย นักการเมือง นักวิชาการและผู้นำองค์กรที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม และเก็บข้อมูลเชิงปริมาณจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วราชอาณาจักรโดยใช้แบบสอบถาม
ผลการวิจัยพบว่า การวิจัยเชิงคุณภาพมีความสอดคล้องกับการวิจัยเชิงปริมาณ คือ คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ได้ปฏิบัติตามบทบาทและหน้าที่ ที่ระบุไว้ในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีความสัมพันธ์แบบเกื้อกูลกับนักการเมืองในลักษณะต่างฝ่ายต่างได้ประโยชน์ กล่าวคือ พรรคการเมืองได้คะแนนนิยมจากสังคมมุสลิม และสังคมมุสลิมได้รับประโยชน์จากการดำเนินนโยบายทางการเมือง และคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีอิทธิพลกับพรรคการเมือง แบบไม่เป็นทางการมากกว่าแบบเป็นทางการ โดยใช้ความสัมพันธ์ส่วนตัวเพื่อการติดต่อสื่อสารกัน สำหรับแนวทางในการกำหนดนโยบายทางการเมืองของพรรคการเมืองควรใช้หลักการชูรอ (การปรึกษาหารือกัน) ในการมีส่วนร่วมเสนอข้อคิดเห็นในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลามให้กับพรรคการเมือง
References
ไพศาล เต็งหิรัญ (2563). ชูรอในอิสลาม: กรณีศึกษาการประยุกต์ใช้หลักการชูรอเพื่อการคัดเลือกกรรมการอิสลามประจำมัสยิดในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
วสันต์ จิสวัสดิ์. (2563). ความไว้วางใจทางการเมืองของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่มีต่อการบริหารราชการส่วนภูมิภาค. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 11(2), 164-177.
สำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย. (2564). ข้อมูลเกี่ยวกับคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย. ค้นเมื่อ 26 พฤษภาคม 2564, จาก https://www.cicot.or.th/th/about
อาดือนัน มะดอแซ และอับดุลเลาะ ยูโซะ. (2559). การมีส่วนร่วมในทางการเมืองของผู้นำศาสนาในจังหวัดปัตตานี. วารสาร AL-NUR บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยฟาฏอนี, 11(20), 181-195.
อำนวย เซลามัน และภูริชญา วัฒนรุ่ง (2557) มาตรการทางกฎหมายในการส่งเสริมกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย ตามพระราชบัญญัติการบริหารองคกรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540. วารสารกฎหมาย, 7(14), 160-176.
Black, A. (2011). The history of islamic political thought: from the prophet to the present. Edinburgh: Edinburgh University Press. Retrieved 31 August 2021, from http://www.jstor.org/stable/10.3366 /j.ctt1g0b63h
Hirschkind, C. (1997). What is political Islam?. Middle East Studies Networks: The Politics of a Field, 11(1), 1–14.
Turner, J. (2009, August 3). Islam as a theory of international relations?. E International Relation: The University of Surrey.
Yamane, T. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.
Yusuf, I. (2010). The Role of the Chularajmontri (Shaykh al-Islam) in Resolving Ethno-religious Conflict in Southern Thailand. American Journal of Islamic Social Sciences, 27(1), 31-53.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 ชานนท์ ดาหลาย
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.