อาเซียนกับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค
คำสำคัญ:
อาเซียน, ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค, อาร์เซ็ปบทคัดย่อ
การวิจัยเรื่องอาเซียนกับหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค มีจุดประสงค์สำคัญคือ (1) ศึกษาจุดประสงค์ของอาเซียนในการจัดตั้งหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (อาร์เซ็ป) (2) ศึกษาปัญหา อุปสรรค และโอกาสของอาเซียนในการจัดตั้งหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางดำเนินการของอาเซียนเพื่อให้หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคบรรลุผล ใช้รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารสิ่งพิมพ์ออนไลน์ อินเทอร์เน็ต และยูทูป รวมทั้งข้อมูลที่ได้จากการประชุมระดับชาติ โดยการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม ผลการวิจัยพบว่า1) การจัดตั้งหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาคของอาเซียนเป็นไปตามกฎบัตรอาเซียน แผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025 และวิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025 เพื่อบูรณาการกับระบบเศรษฐกิจโลกและบรรลุถึงการเป็นแกนกลางของสถาปัตยกรรมความร่วมมือในภูมิภาคที่เปิดกว้าง 2) อุปสรรคสำคัญของอาเซียนในการจัดตั้งอาร์เซ็ปก็คือ ความหลากหลาย และความแตกต่างในระดับการพัฒนาเศรษฐกิจของสมาชิกและความเห็นที่ต่างกันในการเปิดตลาดเสรี โดยเฉพาะอินเดีย ส่วนโอกาสคืออาเซียนจะเป็นกลุ่มที่มีพลวัตรทางการค้าสูง ปริมาณการค้าระหว่างสมาชิกเพิ่มมากขึ้น และ 3) อาเซียนจัดตั้งคณะกรรมการเจรจาการค้า (อาร์เซ็ป) เพื่อเป็นกลไกในการเจรจาโดยไทยมีบทบาทสำคัญในการสรุปการเจรจา ในคราวประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 34-35 ใน ค.ศ.2019 ที่กรุงเทพฯ ซึ่งไทยเป็นประธาน สุดท้าย ความตกลงอาร์เซ็ปได้รับการลงนามแล้วเมื่อ ค.ศ.2020 ที่เวียดนาม และความตกลงนี้มีผลบังคับใช้ใน ค.ศ.2022
References
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ. (2553). การวัดผลการดำเนินงานเพื่อไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. นนทบุรี: ผู้แต่ง.
กรมอาเซียน (2559). อาเซียน 2025: มุ่งหน้าไปด้วยกัน. กรุงเทพฯ: ผู้แต่ง.
กรมอาเซียน (2560). วิสัยทัศน์ประชาคมอาเซียน 2025. ค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2560, จาก http://asean.mfa.go.th
กระทรวงพาณิชย์. รายงานการศึกษาวิจัยเพื่อวางแผนกำหนดทิศทางยุทธศาสตร์การค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2554. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2555 จาก http://www.dtn.moc.go.th/images/document/docsasin 1054 20 dtn/20 final ch.2pdf.
ปิติ ศรีแสงนาม. (2562). จับตา ASEAN Summit: RCEP ท่ามกลางสงครามการค้า. ค้นเมื่อ 13 มกราคม 2562, จาก http://www.the101.world/asean-summit-and-rcep/.
ศูนย์วิจัยกสิกรไทย. (2562). RCEP ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจระดับภูมิภาค. ค้นเมื่อ 10 กันยายน 2562 จาก http://www.kasikornresearch.com
ศูนย์วิจัยธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์. (2560). ความสัมพันธ์อาเซียน-จีน. ค้นเมื่อ 10 ตุลาคม 2562 จาก http://www.pandinthong.com
ศูนย์ยุทธศาสตร์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (2558). แผนงานประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2025. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2560 จาก http://aec.utcc.ac.th
สำนักประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. (2562). ความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP). นนทบุรี: ผู้แต่ง
Balassa, B. (1961). The Theory of Economic Integration. Illinois: Homewood, IL.
Bergsten, F. (2009). Open Regionalism. Retrieved July 27, 2012, from http://www.iie.com /publications/wp/wp.cfm?ResearchID=152
Garnaut, R. (2004). A New Open Regionalism in the Asia Pacific. Retrieved June 18, 2013, from http://www.Lowyinstitute.org./filles/pub1files/Garnaut,-A-New-Open-Regionalis-in-the-Asia-Pacific.pdf
Jin Wei, S & Frankel A. (1998). Open Regionalism in a World of Continental Trade Blocs. Retrieved July 28, 2013, from ideas.repec.ore/p/imf/imfwpa/98-10html
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
หมวดหมู่
License
Copyright (c) 2024 วราภรณ์ จุลปานนท์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.