การปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลไทย

ผู้แต่ง

  • วิโรจน์ ก่อสกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิธีการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ของรัฐบาลไทย เพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้จากการศึกษาไปเผยแพร่ต่อสาธรณะ จากการศึกษา พบว่านับแต่มีพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 และแนวทางปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อ 9 พฤษภาคม 2566 ใช้บังคับแก่หน่วยงานของรัฐทุกหน่วย โดยบรรดาการใดๆ ที่กำหนดให้ต้องขออนุญาตต่อผู้อนุญาต ผู้ขออนุญาตจะเลือกยื่นคำขออนุญาตดังกล่าวรวมถึงนำส่งเอกสารหลักฐานหรือสำเนาเอกสารหลักฐานประกอบคำขออนุญาตต่อผู้อนุญาตโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ก็ได้ และให้ถือว่าการยื่นคำขออนุญาตนั้นเป็นการชอบด้วยกฎหมายนั้น ๆ แล้ว เป็นวิธีการปฏิบัติที่เหมาะสมกับสถานการณ์โลกในปัจจุบันที่มีการแข่งขันสูงขึ้นในทุกๆ ด้าน สอดคล้องกับแนวคิดการบริการสาธารณะแนวใหม่ แนวคิดการปฏิรูประบบราชการ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย  แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ รวมทั้งคำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรีที่แถลงต่อรัฐสภา ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและสอดคล้องกับเทคโนโลยีที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว

References

คําแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี แถลงต่อรัฐสภา เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กันยายน 2566 (2566, กันยายน 11), ราชกิจาจานุเบกษา, 140(221ง),1-14.

เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์. (2551). แนวคิด ทฤษฎีและหลักรัฐประศาสนศาสตร์. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ประชาชาติธุรกิจ. (2567). ผลสำรวจอนาคตการเติบโตทั่วโลก, ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2566, จาก https://www.prachachat.net/csr-hr/news-148487

พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตสถาน. (2554). อิเล็กทรอนิกส์. ค้นเมื่อ 29 ตุลาคม 2566,จาก https://dictionary.orst.go.th/

แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564). (2559, ธันวาคม 30). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 133 (ตอนที่ 15ก), หน้า 1-224.

พระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.2565. (2565 ตุลาคม 12), ราชกิจานุเบกษา, 139(63ก),1-9.

พระราชบัญญัติการอำนวยความสะดวกในการพิจารณาอนุญาตของทางราชการ พ.ศ. 2558. (2558, มกราคม 22). ราชกิจจานุเบกษา, เล่ม 132 (ตอนที่ 4ก), 1-8.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560. (2560 เมษายน 6) ราชกิจจานุเบกษา, 104 ตอนที่ 40 ก, 1-90.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2566). แนวทางวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ ตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการปฏิบัติราชการทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2565 ตามมติคณะรัฐมนตรี ในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2566, ค้นเมื่อ 14 ธันวาคม 2566, จาก https://opdc.go.th/content/NzgzMA

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) .2565. ผลการจัดลำดับ (e-Participation Index: EPI), ค้นเมื่อ 30 ตุลาคม 2566, จาก https://www.dga.or.th/document-sharing/infographic/83025/

สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน). ม.ป.ป. แผนพัฒนารัฐบาลดิจิทัลของประเทศไทย พ.ศ. 2566 – 2570 .(2566). ค้นเมื่อ 22 มกราคม 2566, จากhttps://www.dga.or.th/policy-standard/policy-regulation/dga-019/dga-027/

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี . (2566). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีแถลงต่อรัฐสภา วันที่ 11 กันยายน 2566. ค้นเมื่อ 23 มกราคม 2567,จาก

https://www.soc.go.th/?p=22892

AGENDA. (2022). Global Talent Index 2022. ค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567,จาก

https://www.agenda.co.th/social/thailand-ranked-75th

Denhardt, J, V. & Denhardt, R, B. (2007). The New Public Service. New York: M.E.Sharpe, Inc.

E-Government Development Index, Retrieved December 19,2023, from https:// www.statista.com/statistics/421580/egdi-e-government-development-index-ranking/

เผยแพร่แล้ว

12-04-2024