การศึกษาชีวิตประจำวันของกะเหรี่ยงพลัดถิ่นในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • บัณฑิต สัตย์เพริศพราย นิสิตศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • กมล เผ่าสวัสดิ์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • เกษม เพ็ญภินันท์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

บทคัดย่อ

การศึกษาเรื่องราวชีวิตประจำวันของกะเหรี่ยงพลัดถิ่นในกรุงเทพมหานคร โดยศึกษาแนวคิดชีวิตประจำวันจากผลงานของ Henri Lefebvre ที่กล่าวถึงแนวคิดการวิเคราะห์ชีวิตประจำวัน รวมถึงแนวคิดคนพลัดถิ่นและวัฒนธรรมข้ามแดนที่มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาชีวิตประจำวันของคนพลัดถิ่นชาวกะเหรี่ยงในสังคมกรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นการเก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์ในส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หัวข้อ “ภาพยนตร์ศิลปะ เรื่อง มะลิ : เรื่องราวชีวิตประจำวันของกะเหรี่ยงพลัดถิ่นในกรุงเทพมหานคร” ของหลักสูตรศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต จากการเก็บข้อมูลทั้งทางเอกสารและการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกของชาวกะเหรี่ยงที่ทำอาชีพแม่บ้านในกรุงเทพมหานคร โดยได้นำแนวคิดชีวิตประจำวัน (everyday life) และการวิเคราะห์จังหวะ (Rhythmanalysis) ทั้งการวิเคราะห์จังหวะเวลา (Temporal Rhythms), จังหวะเชิงพื้นที่ (Spatial Rhythms) และจังหวะทางสังคม (Social Rhythms) รวมถึงแนวคิดการโยกย้ายถิ่นฐาน คนพลัดถิ่น และวัฒนธรรมข้ามแดน มาวิเคราะห์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาแนวคิดในการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ศิลปะเรื่องดังกล่าว

 จากการศึกษาพบว่า ชีวิตประจำวันของคนพลัดถิ่นนั้นไม่ได้ซ้ำซาก จำเจ แต่สามารถเคลื่อนไหวไปตามสังคมรอบตัว เช่น ตารางการทำงาน, การเติบโตของเด็กๆ ในบ้าน หรือคำสั่งจากนายจ้าง และคนพลัดถิ่นนั้นจะอยู่ในมโนทัศน์ของคำว่า ‘บ้าน’ ที่ไม่ใช่เป็นเพียงสถานที่ แต่ยังหมายรวมถึงที่พำนักอาศัย ดังนั้นบ้านของคนพลัดถิ่นจึงไม่ได้มีแห่งเดียว แต่มีหลายแห่ง แต่แห่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ‘บ้านในจินตนาการที่เขาตั้งใจปลูกสร้างขึ้นจากเรื่องเล่าของตนเอง ซึ่งแฝงไว้ด้วยความรู้สึกสูญเสียบ้านในถิ่นฐานเดิมในขณะเดียวกัน ‘บ้านในจินตนาการ’ ทำให้บรรดาคนพลัดถิ่นสามารถนิยาม ‘รากเหง้า’ ซึ่งเป็นที่มา และค้นหา ‘เส้นทาง’ ซึ่งเป็นที่ไป สำหรับการตั้งรกรากถิ่นฐานใหม่

References

เกษม เพ็ญภินนท์. (2552). ความโกลาหลของวัฒนธรรมศึกษา. ใน สุวรรณา เกรียงไกรเพ็ชร์ (บรรณาธิการ), ความโกลาหลของวัฒนธรรมศึกษา ยกเครื่องเรื่องวัฒนธรรมศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

ดา (นามสมมุติ). (2565). สัมภาษณ์. 24 ตุลาคม.

นภาภรณ์ หะวานนท์. (2544). แม่ของบ้าน, อนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นางผาสุก ทองเสวต เป็นกรณีพิเศษ. ม.ป.พ.

บุษบงก์ วิเศษพลชัย. (2558). อัปสรากลางไฟ: อัตวิสัย พื้นที่และประสบการณ์ผัสสะ ในชีวิตประจำวันของผู้หญิงบาร์ชาวกัมพูชา. วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปริตตา เฉลิมเผ่า กออนันตกูล. (2550) สมุดแม่: ประคองศรี เฉลิมเผ่า 2460- 2549. กรุงเทพฯ: โอ.เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์.

มะลิ (นามสมมุติ). (2565). สัมภาษณ์. 31 กรกฎาคม.

Ganbold, N. (2021). The power of silence in film and why it makes a huge impact. Retrieved November 30, 2023, from https ://www.freque.io/post/the-power-of-silence-in-film.

Lefebvre, H. (1991). Critique of everyday life. (J. Moore, Trans.; Vol. 1). New York: Verso.

Lefebvre, H. (2004). Rhythmanalysis: Space, Time and Everyday Life. (S. Elden, G. Moore, Trans.). New York: Continuum.

Goonewardena, K., Kipfer, S., Milgrom, R. and Schmid, C. (2008). Space, Difference, Everyday Life: Reading Henri Lefebvre. New York: Routledge.

Stein, G. (1993). Everybody’s autobiography. Cambridge, MS: Exact Change.

เผยแพร่แล้ว

12-04-2024