ความท้าทายในการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการกระทำความผิด ในการปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ

กรณีศึกษา สำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5

ผู้แต่ง

  • เกรียงไกร เจนพิชัย นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศิริลักษม์ ตันตยกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการปฏิบัติงาน ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงาน และแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหาในการดำเนินงานของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 5 ด้านการปราบปรามการกระทําความผิดในการปลูกสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ ซึ่งเป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 7 คน ผลการศึกษาพบว่า ในกระบวนการในการปฏิบัติงานจะปฏิบัติตามระเบียบกรมเจ้าท่าว่าด้วยการดำเนินคดีเกี่ยวกับสิ่งล่วงล้ำลำน้ำ พ.ศ. 2560 โดยจะมี 2 ส่วน คือ การดำเนินคดีอาญา การดำเนินการทางปกครอง ในส่วนของปัญหาและอุปสรรค คือ ปริมาณงานมากเกินไป อัตรากำลังมีน้อยส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง เจ้าหน้าที่ขาดความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในการการบังคับใช้กฎหมายให้เกิดประสิทธิภาพ ประชาชนขาดการรับรู้กฎหมายหรือเพิกเฉยต่อกฎหมาย และมีงบประมาณในการดำเนินงานที่จำกัด โดยมีแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขปัญหา คือ ปรับเปลี่ยนโครงสร้างเพื่อเพิ่มอัตรากำลังและกำหนดตำแหน่งผู้ปฏิบัติงานที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะในการดำเนินคดี จัดฝึกอบรมให้ความรู้และฝึกปฏิบัติให้กับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานเป็นประจำ ลงพื้นที่ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้ให้กับประชาชนเพื่อลดการกระทำความผิด และเพิ่มงบประมาณสนับสนุนให้สอดคล้องกับปริมาณงาน

References

เฉลิมพล ศรีหงษ์. (2565). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาพื้นฐานรัฐ-ประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต.

ธนวัสถ์ นิธิธีรพัชร. (2564). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการบูรณาการการทำงานของหน่วยงานภาครัฐ: กรณีศึกษา การจัดการปัญหาสิ่งล่วงล้ำลำน้ำในพื้นที่ความรับผิดชอบของสำนักงานเจ้าท่าภูมิภาคที่ 6. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567, จาก https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:299782#

ธนสาร บำรุงกิจ. (2553). การศึกษาอุปสรรคและปัญหาภายในหน่วยงานซึ่งมีผลต่อการทำสำนวนล่าช้า : ศึกษาเฉพาะพนักงานสอบสวนสังกัดกองบังคับการตำรวจนครบาล 1. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิตมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ประกาศ เรื่อง ยุทธศาสตร์ชาติ (พ.ศ. 2561 – 2580). (2561, ตุลาคม 13). ราชกิจจานุเบกษา, 135(82ก).

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2566). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนการวิชาการบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตร์มหาบัณฑิต.

สมคิด บางโม. (2558). องค์การและการจัดการ. กรุงเทพฯ: วิทยพัฒน์.

เสนาะ ติเยาว์. (2543). หลักการบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สุภาณี คัมภิรารักษ์. (2562). ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการกระทำความผิดตามกฎหมายศุลกากรของส่วนสืบสวนปราบปราม 1. ค้นเมื่อ 10 มกราคม 2567, จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-

abstract/files/2562_1597740086_6114832022.pdf

อนิวัช แก้วจำนงค์. (2551). การจัดการเชิงกลยุทธ์. สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.

เผยแพร่แล้ว

12-04-2024