ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความเสี่ยงกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรส่วนท้องถิ่น: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • สโรช บุญพันธ์ นิสิตหลักสูตรรัฐศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ชินวัตร เชื้อสระคู วิทยาลัยการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยมหาสารคาม

คำสำคัญ:

Risk factors, Operational efficiency, Relationships between factors

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความเสี่ยงกับประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร: กรณีศึกษาบุคลากรเทศบาลในอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา รวมทั้งหมด 6 องค์กร ได้แก่ เทศบาลตำบลบางน้ำเปรี้ยว เทศบาลตำบลดอนฉิมพลี เทศบาลตำบลบางขนาก เทศบาลตำบลศาลาแดง เทศบาลตำบลดอนเกาะกา เทศบาลตำบลคลองแสนแสบ จำนวนทั้งหมด 229 คน โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย 146 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ (Stratified Random Sampling) โดยสุ่มตัวอย่างกลุ่มย่อยแต่ละกลุ่มสถานที่ทำงานตามสัดส่วน โดยมีวัตถุประสงค์คือ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านความเสี่ยง 5 มิติได้แก่ ด้านกลยุทธ์ ด้านการเงิน ด้านปฏิบัติงาน ด้านกฎหมาย/กฎระเบียบ ด้านนโยบาย กับประสิทธิภาพการปฏิบัติงาน 4 มิติ ได้แก่ ความรวดเร็ว(เวลาการทำงาน) ปริมาณงาน คุณภาพงาน ความคุ้มค่าของทรัพยากร และศึกษาข้อแสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยด้านความเสี่ยงและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในเทศบาลอำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์การถดถอยเชิงพหุคูณของตัวแปรตามประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากร 4 ด้าน และตัวแปรต้นปัจจัยด้านความเสี่ยง 5 มิติ ผลวิจัยพบว่า ปัจจัยความเสี่ยงด้านปฏิบัติงาน และปัจจัยความเสี่ยงด้านนโยบาย มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรได้อย่างมีนัยสำคัญ ปัจจัยความเสี่ยงด้านกลยุทธ์ ปัจจัยความเสี่ยงด้านการเงิน และปัจจัยความเสี่ยงด้านกฎหมาย/กฎระเบียบ ไม่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการปฏิบัติงานของบุคลากร

References

เกศณรินทร์ งามเลิศ. (2559). แรงจูงใจที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน และลูกจ้างองค์การคลังสินค้า. การค้นคว้าอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

จรรยรัศม์ อินนพคุณ. (2563). “การจัดการความเสี่ยงในหน่วยงานภาครัฐ กรณีศึกษาหน่วยงานราชการ อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี.” วารสารรัชต์ภาคย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 14(33), น. 92-93.

เพ็ญศรี, คำกลิ่น. (2561). การวิเคราะห์ความเสี่ยงการปฏิบัติงานด้านการเงินและพัสดุ ของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.

คณาธิป จันทร์สง่า. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของข้าราชการ สำนักงานเขตสำนักงานเขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร. ปริญญานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสยาม.

วรรณวิภา จันทร์หอมกุล. (2559). การบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการ กรณีศึกษา มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์.

วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. (2566). อำเภอบางน้ำเปรี้ยว. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2566 จาก https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%A0%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%89%E0%B8%B3%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%89%E0%B8%A2%E0%B8%A7

ศิริขวัญ ผลวิจิตร (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน การบัญชี หน่วยงานราชการ เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร. วิทยาลัยบริหารธุรกิจนวัตกรรมและการบัญชี มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์

สาวิตรี ง้วนหอม. (2013). ปัจจัยความเสี่ยงกับประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดเทศบาลกลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่ 1, ดุษฎีนิพนธ์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Aguinis, H., Ramani, R. S., & Cascio, W. F. (2020). Methodological practices in international business research: An after-action review of challenges and solutions. Journal of International Business Studies, 51, 1593-1608.

Best, D. L., Williams, J. E., Cloud, J. M., Davis, S. W., Robertson, L. S., Edwards, J. R., Giles, H., & Fowles, J. (1977). Development of sex-trait stereotypes among young children in the United States, England, and Ireland. Child Development, 1375-1384.

Duangsamran, K. (2021). บริหาร ความ เสี่ยง อย่างไร ให้ องค์กร ไร้ วิกฤต. Journal of Multidisciplinary in Humanities and Social Sciences, 4(1), 340-351.

Gallieni, M., et.al. (2019). Clinical practice guideline on peri-and postoperative care of arteriovenous fistulas and grafts for haemodialysis in adults. Nephrology Dialysis Transplantation, 34 (Supplement_2), 1-42.

Hillman, A. J., & Hitt, M. A. (1999). Corporate political strategy formulation: A model of approach, participation, and strategy decisions. Academy of Management Review, 24(4), 825-842.

Hillson, D., & Murray-Webster, M. R. (2012). Managing group risk attitude. Gower Publishing, Ltd.

Kaplan, R. S., & Mikes, A. (2012). Managing risks: a new framework. Harvard business review, 90(6), 48-60.

Likert, R. (1961). New patterns of management. New York: McGraw-Hill.

Peterson, E., & Plowman, E. G. (1953). Business organization and management–home wood. Illinois: Richard D. Irwin.

Yamane, Taro. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

11-02-2024