การเพิ่มขีดความสามารถของงานชุมชนสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ ทันสมัย ในพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม

ผู้แต่ง

  • พิมพ์ชนา ศรีบุณยพรรัฐ วิทยาลัยการเมืองและการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • นิติพัฒน์ กิตติรักษกุล กองทะเบียนประวัติอาชญากร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

คำสำคัญ:

การเพิ่มขีดความสามารถ, งานชุมชนสัมพันธ์เชิงรุก, ชุมชนน่าอยู่, ชุมชนทันสมัย

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ (1) เพื่อศึกษาความสามารถของงานชุมชนสัมพันธ์เชิงรุก และ (2) เพื่อศึกษาการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการแก้ไขปัญหาความไม่ปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน กลุ่มตัวอย่างเป็น ข้าราชการตำรวจระดับบริหาร จำนวน 2 คน ข้าราชการตำรวจที่ปฏิบัติงานชุมชนสัมพันธ์ของสถานีตำรวจภูธรอัมพวา จำนวน 3 คน  หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการพัฒนาชุมชน 3 คน ผู้แทนภาคธุรกิจ และเอกชน จำนวน 2 คน และประชาชน จำนวน 5 คน  ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลมีหลายด้าน ได้แก่ การ สนทนากลุ่ม การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร มีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า เพื่อตรวจสอบและยืนยันความถูกต้อง การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและบรรยายความเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า ผู้บังคับบัญชาให้การสนับสนุนการปฏิบัติงานของชุดปฏิบัติการชุมชนสัมพันธ์อย่างเต็มศักยภาพ และสนับสนุนกำลังพล งบประมาณ วัสดุ เครื่องมือ เครื่องใช้ และยานพาหนะพร้อมน้ำมันเชื้อเพลิงให้เพียงพอแก่การปฏิบัติงาน เพิ่มความเข้มในการแสวงหาความร่วมมือจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อเข้ามาช่วยเหลือการปฏิบัติภารกิจของตำรวจให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และพบว่า ได้มีการสนับสนุนการติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อดูแลความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน โดยมีการติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) รอบอาคารสถานีตำรวจ เพื่อป้องกันเหตุบริเวณรอบที่ว่าการอำเภออัมพวา และบริเวณลานจอดรถซึ่งเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยวใช้จอดรถเมื่อเดินทางมาเที่ยวตลาดน้ำอัมพวาขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานข้างเคียงเช่น เทศบาล และ องค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ให้ติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่รับผิดชอบของแต่ละเทศบาล หรือ อบต. นั้น ๆ มีการพัฒนาและสร้างนวัตกรรมที่เป็นอุปกรณ์สัญญาณเตือนภัย อุปกรณ์ป้องกันภัยอันตราย โดยมีสัญญาณเตือนภัยจากธนาคารในเขตพื้นที่เชื่อมต่อระบบไปที่ศูนย์วิทยุเมื่อเกิดเหตุ และศูนย์วิทยุได้รับแจ้งเหตุ

References

กรมตำรวจ. (2534). คู่มือเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานชุมชนและมวลชนสัมพันธ์. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.

ดลมนรรจน์ บากา, เกษตรชัย และหีม, อับดุลเลาะ อับรู. (2547). การประเมินผลโครงการตำรวจชุมชนสัมพันธ์ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้. สำนัก ส่งเสริมการวิจัยและเขียนตำรา วิทยาลัยอิสลามยะลา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.

มรุตพงศ์ วิเชียรศรี และ ศศิภัทรา ศิริวาโท. (2563). การใช้กล้องวงจรปิด CCTV เพื่อลดปัญหาอาชญากรรม: กรณีศึกษาพื้นที่จังหวัดนนทบุรี. เอกสารสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563, 936-94.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560, เมษายน 6). ราชกิจจานุเบกษา, 134(40ก), 18.

สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. (2562). นโยบายและยุทธศาสตร์การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2570 และแผนงานด้านวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2563-2565, กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.

Breen, Richard. (1997). Risk, Recommodification and stratification. Sociology, Vol 31 No. 3 (First Published August 1) pp.473-489.

Charles-Louis de Secondat, Baron de La Brède et de Montesquieu. (1989). Oxford and New York, New York: Oxford University Press.

Cordner, G. (1999). Elements of Community Policing. L. Gaines and G. Cordner, eds. Policing Perspectives: An Anthology. Los Angeles: Roxbury.

David L. Carter, Louis A. Radelet. (1999). The Police and the Community. No. 6, illustrated edition, New Jersey: Prentice Hall.

Friedmann, R. R. (1992). Community Policing: Comparative Perspectives and Prospects. New York: Palgrave Macmillan.

Geller, William A. (1991). Local Government Police Management. 2rd ed. Washington D.C.: Falmer Press.

Hood, Christopher. (1991). A Public management for all seasons? Public Administration, 69 (Spring 1991): 3-19.

Jiao, Allan y. (1996). Matching Police-Community Expectation: An Analysis of Policing Models in an Urban University Community. Dissertation Abstracts International-A. 57(4). 18-37.

J. H. Skolnick, D. H. Bayley. (1988). Community Policing: Issues and Practices Around the World. National Institute of Justice, Office of Communication and Research Utilization, Washington D.C.: OJP.

Lane, Jan-Erik. (2000). The Public Sector: Concepts, Models and Approaches. Sage Publications London.

Royster, Linda G. (1997). The Impact of Leader Resources and Situational Variables on Perceived Leadership Effectiveness. (Police officers community policing). Dissertation Abstracts International Dal-A. (1997, December).

Shtull, Penny R. (1997). The Best Goes On: A Study of Conflicts and Contradictions in Community Policing. Unpublished doctoral dissertation. New York: University of New York.

Skolnick, J. H. and Bayley, D. H. (1988). Theme and Variation in Community Policing. Crime and Justice. 10: 1-37.

Trojanowicz, R.C and Bucqueroux, B. (1990). Community Policing: A Contemporary Perspective. Cincinnati, OH: Anderson.

เผยแพร่แล้ว

12-07-2025

How to Cite

ศรีบุณยพรรัฐ พ. ., & กิตติรักษกุล น. . (2025). การเพิ่มขีดความสามารถของงานชุมชนสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อสร้างชุมชนน่าอยู่ ทันสมัย ในพื้นที่อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(1), 199–225. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/2132