นโยบายการพิจารณาคัดเลือกบุคคลพลเรือนเข้ารับราชการในกองทัพบก ด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์และรอยเท้าทางดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • นราวิชญ์ จิตรบรรจง นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • วงพักตร์ ภู่พันธุ์ศรี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

การคัดเลือกบุคคล, การใช้สื่อสังคมออนไลน์, รอยเท้าทางดิจิทัล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 11 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย คือ 1. นโยบายการพิจารณาและคัดเลือกบุคคลพลเรือนเข้ารับราชการในกองทัพบกด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์และการตรวจสอบรอยเท้าทางดิจิทัล 2. เพื่อวิเคราะห์ผลกระทบของนโยบาย 3. เพื่อเสนอมาตรการ ระบบการคัดเลือก และแนวทางปฏิบัติที่เหมาะสม ผลการวิจัยพบว่า นโยบายนี้ เป็นนโยบายที่สำคัญและมีความจำเป็นในยุคปัจจุบัน ซึ่งกองทัพบกกำหนดขึ้นมาใหม่ให้ทันต่อสถานการณ์ มีการตรวจสอบทัศนคติผ่านการใช้โซเชียลมีเดียของผู้เข้ารับการคัดเลือกมาใช้ในการพิจารณา นโยบายดังกล่าวส่งผลกระทบทั้งผู้รับการคัดเลือก กองทัพบก และ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งเชิงบวกและเชิงลบ ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งนี้ยังพบว่า การนำนโยบายไปสู่การปฏิบัตินั้นมีมาตรฐานหรือแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน มีการเตรียมความพร้อมทั้งในระดับนโยบาย กำลังพลผู้ปฏิบัติ เครื่องมือ และกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เป็นนโยบายที่มีความยุติธรรม โปร่งใส และตรวจสอบได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่นโยบายดังกล่าวมีความเกี่ยวข้องกับ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 (PDPA: Personal Data Protection Act) ที่มีผลบังคับใช้ในปัจจุบัน

References

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. (2563). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ปี 2562. ค้นเมื่อ 1 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.etda.or.th/th/UsefulResource/publications/Thailand-Internet-User-Behavior-2019_Th.aspx,

ณัฐณิชา ดวงขจี. (2563). ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการของนักศึกษา. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ สถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทย, 2(2), 10-21.

นุสรา วรภัทราทร. (2564). นักรบหรือเหยื่อ: ทหารยุคใหม่ในสงครามโซเชียลมีเดีย. นิตยสารยุทธโกษ, 129(2), 16-19.

นุสรา วรภัทราทร. (2564). การครอบงำทางไซเบอร์และห้องแห่งเสียงสะท้อนซ่อนรอยเท้าทางดิจิทัล. นิตยสารยุทธโกษ, 129(3), 14-17.

บวรนันท์ ทองกัลยา. การทำงานของ HR ไทยต่อจากนี้. ค้นเมื่อ 15 กรกฎาคม 2565, จาก https://th.hrnote.asia/tips/190423-pmathrfuture/

สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล. (2565). คู่มือ PDPA สำหรับประชาชน. ค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2565, จากhttps://www.faceboof.com/pdpc.th.

ศิริกร เอื้อไพจิตร. (2562). รอยเท้าดิจิทัล : ฝ่ายบุคคลเตือน ตัวตนและความคิดเห็นในโลกออนไลน์มีผลต่อการสมัครงาน. ค้นเมื่อ 5 กรกฎาคม 2565, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-48902824

Bunaramrueang, Elamchamroonlarp, Oinpat & Thipsamritkul. (2562). แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล สำหรับการวิจัยและสถิติ. ค้นเมื่อ 16 กรกฎาคม 2565, จากhttps://www.law.chula.ac.th/event/11289/

Hootsuite. (2021). สถิติและพฤติกรรมการใช้งาน social media ของคนไทย. ค้นเมื่อ 25 มิถุนายน 2565, จากhttps://www.slideshare.net/DataReportal/digital-2021-global-overview-report-january-2021-v01

เผยแพร่แล้ว

26-06-2025

How to Cite

จิตรบรรจง น. ., & ภู่พันธุ์ศรี ว. . (2025). นโยบายการพิจารณาคัดเลือกบุคคลพลเรือนเข้ารับราชการในกองทัพบก ด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์และรอยเท้าทางดิจิทัล. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(2), 482–501. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/2084