บทบาทของกองทัพกับนโยบายรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อป้องกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่

ผู้แต่ง

  • ยุทธศักดิ์ รักเสรีพิทักษ์ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ศิริลักษม์ ตันตยกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ความมั่นคงทางไซเบอร์, นโยบายสาธารณะ, สงครามรูปแบบใหม่

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และจากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 คน  โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. สภาพปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ของประเทศไทย 2. ความพร้อมด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ และ 3. แนวคิดและข้อเสนอแนะในการพัฒนาและปรับปรุงนโยบาย มาตรการทางกฎหมาย และระเบียบปฏิบัติ ในการป้องกันภัยคุกคามทางไซเบอร์ ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัญหาภัยคุกคามทางไซเบอร์ของประเทศไทยแบ่งออกเป็น 2 ปัญหาใหญ่ ได้แก่ 1) ความไม่พร้อมในการป้องกันและแก้ไขภัยคุกคามทางไซเบอร์ และความไม่พร้อมในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ในระดับประเทศ และ 2) ความไม่พร้อมในการรับมือปรากฏการณ์อำนาจแฝงจากโซเชียลมีเดีย และการสูญเสียอธิปไตยไซเบอร์ของชาติ ในส่วนของความพร้อมด้านความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์  จากผลการวิเคราะห์ขีดความสามารถด้านไซเบอร์ พบว่า ประเทศไทยมีขีดความสามารถด้านไซเบอร์โดยรวม อยู่ที่ระดับ 1.95 หมายความว่า ไทยจำเป็นต้องพัฒนาขีดความสามารถด้านไซเบอร์ในทุกมิติ

References

พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์ พ.ศ. 2562. (2562, พฤษภาคม 27). ราชกิจจานุเบกษา. 136(69 ก), 20-51

พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562. (2562, พฤษภาคม 27). ราชกิจจานุเบกษา. 136(69 ก), 52-95.

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550. (2550, มิถุนายน 18). ราชกิจจานุเบกษา. 124 (27 ก), 4-13.

พระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560. (2560, มกราคม 24). ราชกิจจานุเบกษา. 134(10 ก), 24-35.

สิทธิพันธ์ พุทธหุน. (2564). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาการกำหนดและการวิเคราะห์นโยบายสาธารณะ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.

Global Cybersecurity Capacity Centre. (2016). Cybersecurity capacity maturity model for nations (CMM). Revised Edition. Oxford, United Kingdom: University of Oxford.

เผยแพร่แล้ว

26-06-2025

How to Cite

รักเสรีพิทักษ์ ย. . ., & ตันตยกุล ศ. . (2025). บทบาทของกองทัพกับนโยบายรักษาความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์เพื่อป้องกันภัยคุกคามรูปแบบใหม่. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(2), 461–481. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/2083