การบริหารงานด้านการตรวจสอบอากร
กรณีศึกษาการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย ของส่วนปฏิบัติการตรวจสอบ 1 กองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร
คำสำคัญ:
การบริหารงาน, การตรวจสอบหลังการตรวจปล่อย, กรมศุลกากรบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการ ปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาอุปสรรคและพัฒนาการดำเนินงานในการบริหารงานด้านการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยของส่วนปฏิบัติการตรวจสอบ 1 กองตรวจสอบอากร กรมศุลกากร โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน ผลการวิจัยพบว่า กระบวนการบริหารงานด้านการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยภายใต้กรอบแนวคิดการนำนโยบายไปปฏิบัติของ Van Meter and Van Horn นั้นเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยในด้านวัตถุประสงค์มีความชัดเจน ทรัพยากรมีเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน ด้านลักษณะของหน่วยงานนั้นมีความเอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติงาน การติดต่อสื่อสารภายในองค์กรโดยรวมเป็นไปด้วยดี แม้จะมีอุปสรรคบ้างในการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ สภาพเศรษฐกิจและสังคมนั้นมีผลต่อการปฏิบัติงานอย่างมาก และความร่วมมือร่วมใจของบุคคลากรนั้นมีความร่วมมือร่วมใจกันเป็นอย่างดี ส่วนปัญหาและอุปสรรคนั้น ประกอบไปด้วย 1) ปัญหาด้านทรัพยากรบุคคลที่มีการโยกย้ายบ่อยและขาดทักษะประสบการณ์ 2) ปัญหาด้านระบบเทคโนโลยีที่ใช้ในการตรวจสอบยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 3) ปัญหาด้านการสื่อสารระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติ 4) ปัญหาด้านกฎหมายและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องไม่ชัดเจนและไม่ครอบคลุมปัญหาที่เกิดขึ้น 5) ปัญหาด้านความรู้ความเข้าใจของผู้ประกอบการเกี่ยวกับการตรวจสอบหลังการตรวจปล่อยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
References
ฐิติวรดา สุวรรณมัย. (2560). การนำนโยบายศูนย์บริหารราชการฉับไวใสสะอาด (Bangkok Fast & Clear : BFC) ไปปฏิบัติ: ศึกษากรณี สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, จาก http://wwwru.ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/ viewIndex/57
บุญเกียรติ การะเวกพันธ์. (2565ก). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาการนำนโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลนโยบาย. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
บุญเกียรติ การะเวกพันธ์. (2565ข). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาสัมมนานโยบายและการจัดการสาธารณะ. มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2560. (2560, พฤษภาคม 17). ราชกิจจานุเบกษา, 137(53ก), 26-79.
พิมพ์กมล ไชยสมภาร. (2562). การนำการนำนโยบายรัฐบาลดิจิทัลไปปฏิบัติ : กรณีศึกษาสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
ไพรัตน์ สาอุดม. (2565). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : ศูนย์ผลิตตำราเรียน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
พระนฤนาท ญาณวิริโย. (2556). การนำนโยบายไปปฏิบัติด้านการส่งเสริมฟื้นฟู และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของเทศบาลตำบลสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัชฎาภรณ์ หงส์ภักดี. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของการนำนโยบายการให้บริการแบบศูนย์บริหารราชการ ฉับไวใสสะอาด กรณีศึกษาสำนักงานเขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, จาก http://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/ viewIndex/232
วิโรจน์ ก่อสกุล. (2564). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาองค์การและนวัตกรรมในองค์การ. มหาวิทยาลัยรามคําแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
วีณา พึงวิวัฒน์นิกุล. (2564). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาการจัดการทรัพยากรมนุษย์ร่วมสมัย. มหาวิทยาลัยรามคําแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
ศุภชัย ยาวะประภาษ. (2557). นโยบายสาธารณะ (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศศิพร คนงาน. (2558). การนำนโยบายการบริหารมุ่งผลสัมฤทธิ์ไปปฏิบัติในกระทรวงแรงงาน. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สมพร เฟื่องจันทร์. (2552). นโยบายสาธารณะ ทฤษฎีและการปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: ออน อาร์ตครีเอชั่น
สุภางค์ จันทวานิช. (2563). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ (พิมพ์ครั้งที่ 25). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุประวีณ์ มั่งมีทรัพย์. (2562). การบริหารงานด้านสืบสวนและปราบปรามผู้ลักลอบสินค้าหนีศุลกากรของส่วนสืบสวนปราบปราม 2 กองสืบสวนและปราบปราม กรมศุลกากร. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคําแหง.
สุภาณี คัมภิรารักษ์. (2562). ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานด้านการปราบปรามการกระทำความผิดตามกฎหมายศุลกากรของส่วนสืบสวนปราบปราม 1. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2565, จากhttp://www3.ru.ac.th/mpa-abstract/index.php/abstractData/ viewIndex/295
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 นภัสพรรณ กลางประพันธ์, รัฐศิรินทร์ วังกานนท์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.