การบริหารจัดการในการดูแลผู้สูงอายุภายในชุมชน

กรณีศึกษา เทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี

ผู้แต่ง

  • ชานุวัฒน์ รัตนวงศ์ นักศึกษาหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • ณัฐพงศ์ บุญเหลือ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ผู้สูงอายุ, การบริหารจัดการ, เทศบาลตำบลเขาพระงาม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการดูแลผู้สูงอายุภายในชุมชน (2) กระบวนการบริหารจัดการดูแลผู้สูงอายุภายในชุมชนของเทศบาล และ (3) ผลการบริหารจัดการดูแลผู้สูงอายุภายในชุมชน ใช้กลุ่มตัวอย่างจากผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล ข้าราชการ พนักงาน จำนวน 156 คน ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจัดการดูแลผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยปัจจัยด้านภาวะผู้นำ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และมีอิทธิพลต่อผลการบริหารจัดการดูแลผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 รองลงมา คือ ปัจจัยด้านการมีส่วนร่วม และปัจจัยด้านนโยบาย ตามลำดับ (2) กระบวนการบริหารจัดการดูแลผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และในรายด้าน การจัดการด้านงบประมาณ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ การประสานงาน และการบริหารทรัพยากรบุคคล ตามลำดับ (3) ผลการบริหารจัดการดูแลผู้สูงอายุ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก และในรายด้าน คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพอนามัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา คือ คุณภาพชีวิตด้านนันทนาการ และคุณภาพชีวิตด้านสังคม/สภาพแวดล้อม ตามลำดับ โดยคุณลักษณะส่วนบุคคลด้านตำแหน่ง และระยะเวลาปฏิบัติงานมีอิทธิพลต่อผลการบริหารจัดการดูแลผู้สูงอายุ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

References

กรมการปกครอง. (2565). ประกาศสำนักทะเบียนกลาง เรื่องจำนวนประชากรทั่วราชอาณาจักรตามหลักฐาน การทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2564 (ลงวันที่ 7 มกราคม 2565). กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง

เฉลิมพล ศรีหงษ์. (2564). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณทิต.

ชนาพร สันตะวาลิ้ม. (2564). ปัจจัยการนำนโยบายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไปปฏิบัติ: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลนาเกลือ. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ชลิดา ศรมณี. (2564). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาขอบข่ายและแนวคิดเชิงทฤษฎีรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณทิต.

เทศบาลตำบลเขาพระงาม. (ม.ป.ป.). ถอดบทเรียนนวัตกรรมโครงการบ้านต้นแบบสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุและโครงการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุแบบครบวงจร. ลพบุรี: ผู้แต่ง.

เทศบาลตำบลเขาพระงาม. (2565). ข้อมูลประชากรในเขตเทศบาลตำบลเขาพระงาม ณ วันที่ 1 กรกฎาคม 2565. ระบบสารสนเทศกรมการปกครอง, กระทรวงมหาดไทย.

บุญเกียรติ การะเวกพันธุ์. (2565). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาการนำนโยบายไปปฏิบัติและการประเมินผลนโยบาย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณทิต.

ปณรัศม์ วันชาญเวช. (2563). ปัจจัยความสำเร็จ ปัญหา อุปสรรค การดำเนินงานการดูแลผู้สูงอายุของ เทศบาลตำบลบางสีทอง. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ปาริชาต คนเชี่ยว. (2563). ปัจจัยความสำเร็จต่อการขับเคลื่อนโครงการนวัตกรรมบ้านต้นแบบสุขภาวะผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี. การค้นคว้าอิสระหลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

มูลนิธิสถาบันวิจัยและพัฒนาผู้สูงอายุไทย (มส.ผส.). (2564). สถานการณ์ผู้สูงอายุไทย พ.ศ. 2563. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม.

วิโรจน์ ก่อสกุล. (2564). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาระเบียบวิธีวิจัยทาง รัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณทิต.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-06-2025

How to Cite

รัตนวงศ์ ช. . ., & บุญเหลือ ณ. . (2025). การบริหารจัดการในการดูแลผู้สูงอายุภายในชุมชน: กรณีศึกษา เทศบาลตำบลเขาพระงาม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(2), 359–383. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/2079