การได้มาซึ่งความนิยมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ศศิธร ธรรมนิมิตเมตตา นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฏีบัณฑิต สาขาวิชาการเมือง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • พัด ลวางกูร คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร, การเลือกตั้ง, ความนิยม

บทคัดย่อ

การได้มาซึ่งความนิยมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร มีวัตถุประสงค์ในการศึกษา (1) เพื่อศึกษาการทำงานการเมืองของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อให้ได้มาซึ่งความนิยม และ (2) เพื่อสร้างข้อเสนอแนะต่อแนวทางการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งความนิยมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร  เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลจากการวิจัยเอกสาร และการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ภายใต้เงื่อนไขว่า จะต้องเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่ได้รับการเลือกตั้งกลับเข้ามา 4 ครั้ง โดยนับการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในปี พ.ศ. 2548, พ.ศ. 2550, พ.ศ. 2554 และพ.ศ. 2562 ผลการศึกษาพบว่า ตามวัตถุประสงค์ (1) การทำงานได้ถูกแยกออกเป็นช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง และภายหลังการเข้ารับตำแหน่ง แม้สิ้นสุดการรณรงค์หาเสียงเลือกตั้งแล้ว การพบปะกับประชาชนในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอเพื่อรับฟังปัญหาและสร้างความใกล้ชิดกับประชาชน (ทำงานในพื้นที่) ต้องทำควบคู่กันไปกับการทำงานตามภาระหน้าที่ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ทำงานในสภา) และตามวัตถุประสงค์ที่ (2) สิ่งสำคัญต่อการสร้างความนิยมของผู้แทนฯ คือ บุคลิกส่วนตัวที่ทำให้ชาวบ้านรู้สึกสบายใจเมื่อพบเจอ มีความเป็นกันเอง การเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคมในพื้นที่อย่างสม่ำเสมอด้วยตนเองเพื่อสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจจากประชาชน การคัดเลือกบุคลากรที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับงานที่จะมอบหมายให้ทำ โดยทีมงานในพื้นที่จะเน้นที่ความภักดีต่อผู้แทนฯ และทีมงานในสภาจะเน้นที่ความสามารถในทางวิชาการ การสร้างเครือข่ายหรือแกนนำย่อยในระดับตำบลเป็นส่วนช่วยให้ลดการพึ่งพาหัวคะแนนอิสระในช่วงรณรงค์หาเสียงเลือกตั้ง 

References

คณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2562). การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร. ค้นเมื่อ 23 มิถุนายน 2562, จาก https://www.ect.go.th/ect_th/news_page.php?nid=865#

ชัยยนต์ ประดิษฐศิลป์ และชัยณรงค์ เครือนวน. (2557). โครงสร้างอำนาจและการกระจุกตัวของความมั่งคั่งในท้องถิ่น: กรณีศึกษาจังหวัดแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกโครงสร้างอำนาจและการสะสมทุนในจังหวัดแห่งหนึ่ง. ภายใต้ชุดโครงการวิจัย “สู่สังคมไทยเสมอหน้าการศึกษาโครงสร้างความมั่งคั่งและโครงสร้างอำนาจเพื่อการปฏิรูป”. กรุงเทพฯ: มติชน.

ประจักษ์ ก้องกีรติ. (2554). นิทานสอนใจว่าด้วยความโง่ จน เจ็บของผู้เลือกตั้งชนบท : มายาคติและอคติของนักรัฐศาสตร์ไทย. วารสารฟ้าเดียวกัน, 6(4), 140-155.

พรชัย เทพปัญญา. (2552). นักการเมืองถิ่นจังหวัดชลบุรี. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา, สถาบันพระปกเกล้า.

พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์. (2562). การเมืองเรื่องของแท้. ค้นเมื่อ 20 มกราคม 2563, จาก https://www.matichon.co.th

สถาบันพระปกเกล้า. (2553). บูรณาการงานวิจัย: นักการเมืองถิ่นและพฤติกรรมการเลือกตั้ง 2550. กรุงเทพฯ: สำนักวิจัยและพัฒนา, สถาบันพระปกเกล้า.

สัญญา เคณาภูมิ. (2560). แนวคิดอรรถประโยชน์ทางการเมือง. รัฐสภาสาร, 65(5), 52-82.

อคิน รพีพัฒน์. (2548). การแสดงปาฐกถาพิเศษ ป๋วยอึ๊งภากรณ์ ครั้งที่ 9. กรุงเทพฯ: สามลดา.

อภิชาติ สถิตนิรามัย และคณะ. (2553). รายงานเบื้องต้นโครงการวิจัยการเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจและสังคมของชนชั้นใหม่. กรุงเทพฯ: สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ.

Rabibhadana, Akin (1969). The organization of Thai society in the early Bangkok period, 1782-1873. New York: Cornell University.

Roth, G. & Wittich, C. (1978). Max Webber Economy and Society An Outline of Interpretive Sociology. Berkeley, CA: University of California Press

เผยแพร่แล้ว

26-06-2025

How to Cite

ธรรมนิมิตเมตตา ศ. . . ., & ลวางกูร พ. . (2025). การได้มาซึ่งความนิยมของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(2), 311–342. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/2078