กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด

ผู้แต่ง

  • สรศักดิ์ สร้อยสนธิ์ นักศึกษาโครงการปรัชญาดุษฎีบัณทิต สาขาวิชาการเมือง คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • สุรพล ราชภัณฑารักษ์ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

กลยุทธ์เชิงรุก, พัฒนาประสิทธิภาพการบริหาร, องค์การบริหารส่วนจังหวัด

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเพื่อศึกษารูปแบบ เปรียบเทียบรูปแบบและเสนอแนะแนวทางพัฒนารูปแบบการใช้กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัด โดยใช้วิธีการผสานวิธี เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลคือการใช้แบบสอบถามสถิติที่ใช้ประกอบด้วยสถิติเชิงพรรณนา จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ และใช้การวิจัยเอกสารและการวิจัยสนาม ใช้การสัมภาษณ์ เป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง โดยสัมภาษณ์จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 6 คนผลการวิจัยพบว่า รูปแบบกลยุทธ์เชิงรุกการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ใช้ในการบริหารจัดการในแต่ละภูมิภาคเป็นกลยุทธ์เชิงรุกแบบผสมระหว่าง กลยุทธ์เน้นผลงานตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ กลยุทธ์เน้นกระบวนการหรือระบบทำงานที่มีประสิทธิภาพ และกลยุทธ์เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพ โดยในแต่ละองค์การบริหารส่วนจังหวัดทั่วปะเทศไม่แตกต่างกันในเรื่องของรูปแบบกล่าวคือมีการใช้กลยุทธ์แบบผสมทุกภูมิภาคแต่อาจจะแตกต่างกันในรายละเอียดของแต่ละภูมิภาคตามวัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่น

การบริหารจัดการองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่มีประสิทธิภาพต้องใช้ทั้งความรู้ความสามารถและทักษะหลายๆ ด้านได้แก่ การรู้การบริหารแบบมีส่วนร่วม ความรู้เรื่องกฎหมายเพราะระบบราชการมีข้อบังคับ ระเบียบและประกาศต่างๆ ที่เกี่ยวข้องซึ่งต้องบริหารงานให้เป็นไปตามที่กำหนดและแนวทางในการพัฒนาการบริหารเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพต้องเริ่มจากการวางระบบและกลไกในการบริหารงานที่มีการกำหนดยุทธศาสตร์อย่างชัดเจน มีปรัชญา วิสัยทัศน์ พันธกิจ วัตถุประสงค์ มีแผนงาน มีการพัฒนาคนให้มีความสามารถสอดคล้องกับงานที่ทำ นำเทคโนโลยีมาใช้กับการทำงานอย่างคุ้มค่า และมีการนำผลการประเมินมาใช้ปรับปรุงนโยบายแผนงาน และการดำเนินการทุกๆ ด้าน

References

ชำนาญ อรุณพงษ์. (2543). ปัญหาการปฏิบัติงานตามกรอบอัตรากำลังขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2545). 100 ปีการปกครองท้องถิ่นไทย. กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.

ธงชัย สันติวงษ์. (2541). ทฤษฏีองค์การและการออกแบบองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

ธันยวัฒน์ รัตนสัค. (2555). การบริหารราชการไทย. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, คณะรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์.

วิรัตน์ ศรีประสิทธิ์. (2544). ทิศทางการพัฒนาการกระจายอำนาจการปกครองเพื่อแก้ไขปัญหาให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในอนาคต.วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วันชัย ดนัยโมนุท และไกร เกษทัน. (2543). ประมวลสาระเรื่องการกระจายอำนาจการบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ : กรมการศาสนา.

ศิริพงษ์ วัชรหงษ์. (2543). ปัญหาการกระจายอำนาจการปกครองท้องถิ่นตามนโยบายของรัฐบาล. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวัฒน์ อรุณสิทธิกร. (2543). แนวทางการพัฒนาเพื่อแก้ปัญหาการกระจายอำนาจสู่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตพื้นที่ภาคเหนือตอนบน.วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

Robbins, H. (1985). Asymptotically efficient adaptive allocation rules. Advances in Applied Mathematics, 6(1), 4-22.

เผยแพร่แล้ว

26-06-2025

How to Cite

สร้อยสนธิ์ ส. ., & ราชภัณฑารักษ์ ส. . . (2025). กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารของ องค์การบริหารส่วนจังหวัด. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(2), 280–310. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/2077