บทบาทองบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยกับการบริหารจัดการขยะค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทย กับการบริหารจัดการขยะ
คำสำคัญ:
บทบาทองค์กร, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, จังหวัดสะอาดบทคัดย่อ
งานวิจัยเรื่องบทบาทองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยกับการบริหารจัดการขยะใช้การศึกษาเชิงคุณภาพโดยการศึกษาเอกสาร และการใช้สัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงบุคคลที่เป็นนักบริหารและผู้นำส่วนท้องถิ่นถิ่น จำนวน 19 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของกลุ่มจังหวัดที่ได้รับรางวัลการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ปี 2561-2562 ได้แก่ ลพบุรี เลย และลำพูน (2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการจัดการขยะมูลฝอย (3) เปรียบเทียบการดำเนินงานและการสร้างความร่วมมือในการกำจัดขยะมูลฝอยของประเทศไทย ประเทศญี่ปุ่น และประเทศไต้หวัน ใช้วิจัยเชิงคุณภาพ จากข้อมูลเอกสารและการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลหลัก ประกอบด้วย ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ฝ่ายปกครองอำเภอและจังหวัดที่รับผิดชอบงานการบริหารจัดการขยะ ได้แก่ ท้องถิ่นจังหวัด นายอำเภอ กำนันและผู้ใหญ่บ้าน ผลการวิจัยพบว่า (1) การบริหารจัดการขยะของจังหวัดลพบุรี เลยและลำพูน เป็นการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาล กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครองและกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น ทั้งนี้ความสำเร็จเป็นผลจากการขับเคลื่อนในระดับจังหวัดโดยบทบาทนำของผู้ว่าราชการจังหวัด ด้วยการบรูณาการความร่วมมือกับหน่วยงานราชการ และภาคเอกชนระดับจังหวัด มีหน่วยงานท้องถิ่นจังหวัดเป็นผู้รับผิดชอบ ขณะที่ระดับอำเภอเกิดจากการขับเคลื่อนของนายอำเภอบูรณาการการทำงานร่วมกับส่วนราชการอำเภอ ภาคเอกชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชน และผู้บริหารองค์กรปกครองท้องถิ่น (2) การรับรู้ การตระหนักของประชาชน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงกฎหมาย ระเบียบ คำสั่งที่เกี่ยวข้องเป็นปัญหาและอุปสรรคสำคัญในการจัดการขยะ (3) การกำจัดขยะมูลฝอยของประเทศญี่ปุ่นและประเทศไต้หวัน มุ่งเน้นส่งเสริมเกิดการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นปัจจัยสำคัญในความสำเร็จ ได้แก่ การกระตุ้นและสร้างความรับผิดชอบของประชาชน การนำเทคโนโลยีและแพลตฟอร์มสมัยใหม่ รวมถึงพัฒนาแอปพลิเคชันมาช่วยจัดการขยะของเมือง และการสร้างจิตสำนึกสาธารณะให้แก่ประชาชน
References
กรมควบคุมมลพิษ. (2560). สถานการณ์ขยะมูลฝอยของประเทศไทย ปี พ.ศ. 2559. กรุงเทพมหานคร: สำนักจัดการกากของเสียและสารอันตราย, ส่วนขยะมูลฝอยและสิ่งปฏิกูล.
กระทรวงพลังงาน. (2557). คำแถลงนโยบายของคณะรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชาแถลงต่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงพลังงาน
กิตติ มีศิริ. (2559). ปัจจัยแห่งความสำเร็จในการจัดการขยะมูลฝอยโดยชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนเกตุไพเราะ 3, 4, 5 เขตพระโขนง. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ข่าวไทยพีบีเอส. (2561). ชีวิตสัตว์ทะเลพิการ เหยื่อขยะพลาสติก. ค้นเมื่อ 5 มิถุนายน 2564, จาก https://news.thaipbs.or.th/content/272607
พัลลภ สิงหเสนี. (2560). แนวทางการบริการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนอย่างยั่งยืนในรูปแบบประชารัฐ. ค้นเมื่อ 22 กรกฎาคม 2563, จาก http://www.dsdw2016 .dsdw.go.th/doc_pr/ndc_2559-2560/PDF/wpa_8193/ALL.pdf
โพสต์ทูเดย์. (2560). “ขยะ-ไขมันล้น ท่อระบายน้ำแทบใช้การไม่ได้” สาเหตุสำคัญ น้ำท่วมกรุงเทพฯ. ค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2563, จาก https://www.posttoday.com /social/loca l/498622
ภัทรภร ศิลปะเจริญ. (2562). การจัดการขยะอันตรายจากชุมชน กรณีศึกษา เทศบาลนคร-นครปฐม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
มูลนิธิพลังที่ยั่งยืน. (2555). คู่มือการจัดการขยะโดยชุมชนมีส่วนร่วม. สงขลา: ดาว ฟิล์ม วีดีโอ กราฟฟิค.
สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร, สำนักวิชาการ. (2560). การจัดการขยะมูลฝอย ในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี. (2561). เอกสารสรุปผลการดำเนินงานการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2562 จังหวัดลพบุรี. ลพบุรี: ผู้แต่ง.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี. (2562). เอกสารสรุปผลการดำเนินงานการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2562 จังหวัดลพบุรี. ลพบุรี: ผู้แต่ง.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดลพบุรี. (2563). เอกสารสรุปผลการดำเนินงานการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2562 จังหวัดลพบุรี. ลพบุรี: ผู้แต่ง.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดเลย. (2562). การจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2562. เลย: ผู้แต่ง.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดลำพูน. (2562ก). เอกสารการประเมินผลการประกวดการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ.2562 (กลุ่มจังหวัดขนาดเล็ก) จังหวัดลำพูน. ลำพูน: ผู้แต่ง.
สำนักงานส่งเสริมการปกครองท้องถิ่นจังหวัดลำพูน. (2562ข). ร่างแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2562 จังหวัดลำพูน.: ผู้แต่ง.
สตีเฟน โกลด์สมิท และ เอกเกอร์ส, ดี. วิลเลียม. (2552). การบริหารงานภาครัฐแบบเครือข่าย: มิติใหม่ของภาครัฐ. แปลโดย จักร ติงศภัทิย์ และกฤษภา ปราโมทย์. กรุงเทพมหานคร: เอ็กซเปอร์เน็ท.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ, กพร. (2559). ประวัติความเป็นมา, วิสัยทัศน์ พันธกิจ ยุทธศาสตร์, จาก https://www.opdc.go.th/content/ODY
สุจิตรา วาสนาดำรงดี. (2563). เรียนรู้ความพยายามของเกาหลีใต้และไต้หวันในการลดขยะพลาสติก. วารสารสิ่งแวดล้อม, 24(1), 1-13.
BLT. (2019). ไทยติดกลุ่มผู้นำเข้าขยะพลาสติกสูงสุดในโลก เผยแต่ละปีคนไทยทิ้งขยะกว่า 27 ล้านตัน. Retrieved October 30, 2020, from https://www.bltbangkok.com/news/4878/
Choi, H. J. (2016). The environmental effectiveness of solid waste management: A case study of Oslo, Norway. Master thesis in Culture, Environment and Sustainability Centre for Development and Environment, University of Oslo.
Jambeck, J. R., et al. (2015). Marine pollution. Plastic Waste Inputs from Land into the Ocean, 347, 768-771.
Kennett, P. (2010). Global Perspectives on Governance. In The New Public Governance?: Emerging Perspectives on the Theory and Practice of Public Governance. Stephen P. Osborne (ed.). London: Routledge.
Loffler, E. (2005). Governance and Government: Networking with External Stakeholders. in Public Management and Governance. Tony Bovaird and Elke Loffler (eds.) London: Taylor & Francis Group.
Osborne, S. P. (2010). Introduction: The (New) Public Governance: A Suitable Case for Treatment?. In The New Public Governance?: Emerging Perspectives on the Theory and Practice of Public Governance. Stephen P. Osborne (ed.). London: Routledge.
Porter, Michael E. (1990). The Competitive Advantage of Nations. London: Macmillan.
Rossi, M. (2018). Taiwan has one of the highest recycling rates in the world: Here’s how that happened. Retrieved January 7, 2021. From https://ensia.com/features/taiwan-recycling-upcycling/
United Nations Industrial Development Organization. (2001). Development of Clusters and Networks of SMEs. Private Sector Development Branch Investment Promotion and Institutional Capacity Building Division. N.Y.
Yukalang, N. (2018). Solid waste management solutions for a rapidly urbanizing area in Thailand: Recommendations based on stakeholder input international. Journal of Environmental Research and Public Health, 15(1302), 1-23.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 ชนาภัทท์ ชมภูนิชชภัทต์, เกรียงชัย ปึงประวัติ, ณัฐพงศ์ บุญเหลือ, นิพนธ์ โซะเฮง

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.