แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี

กรณีศึกษาการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทางออนไลน์

ผู้แต่ง

  • กรฉัตร มาตรศรี คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต
  • ธรรมวิทย์ เทอดอุดมธรรม คณะอาชญาวิทยาและการบริหารงานยุติธรรม มหาวิทยาลัยรังสิต

คำสำคัญ:

ปัญหาและอุปสรรค, อาชญากรรมทางเทคโนโลยี, ฉ้อโกงออนไลน์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ศึกษารูปแบบอาชญากรรมเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทางออนไลน์ 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทางออนไลน์ และ3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทางออนไลน์ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ จากการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 10 คน ระยะวลาในการเก็บข้อมูล 5 เดือน

ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบอาชญากรรมเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทางออนไลน์ที่พบบ่อยมากที่สุด คือ การหลอกซื้อขายของออนไลน์ ปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยีที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทางออนไลน์ มี 5 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านความล่าช้าในการรวบรวมพยานเอกสารจากหน่วยงานภายนอก 2) ด้านการตรวจสอบข้อมูล IP Address ของผู้กระทำผิด 3) ด้านประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจฯ 4) ด้านรูปแบบการกระทำความผิดที่มีความซับซ้อน และ5) ด้านบทบัญญัติ และการลงโทษ โดยเสนอแนะแนวทางการแก้ไขฯ มี 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการแสวงหาความร่วมมือระหว่างองค์การ 2) ด้านการพัฒนาเทคโนโลยีและทักษะในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจฯ 3) ด้านการบังคับใช้กฎหมายและเพิ่มบทลงโทษ และ4) ด้านการรณรงค์ป้องกันและให้ความรู้กับประชาชน

References

กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี. (2565). สถิติเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงออนไลน์. กรุงเทพ: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

ณัฐพัฒน์ ศิริพงศ์วรรธนะ และพงษ์พิษณุ ภักดีณรงค์. (2558). การพัฒนางานด้านการตรวจพิสูจน์อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และกรมสอบสวนคดีพิเศษ. วารสารบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, 3(11), 85-93.

ณัฐวุฒิ กลิ่นเกษร .(2564). แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานบริการประชาชนของเจ้าหน้าที่กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี. วารสารอาชญาวิทยาและสังคมศาสตร์, 3(1), 76-89.

ณัฐธรณ์ เดชสกุล .(2563). ปัญหาการฉ้อโกงซื้อขายสินค้าทางอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย.งานประชุมวิชาการระดับชาติมหาวิทยาลัยรังสิต ประจำปี 2563. หน้า 1141-1151.

ณรงค์ กุลนิเทศ. (2557). รูปแบบและมาตรการแก้ปัญหาอาชญากรรมไซเบอร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ. 2560, เล่ม 134 ตอนที่ 32 ก (2560).

สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ กองวิจัย. (2559). การวิจัยเพื่อพัฒนากระบวนการสืบสวนและสอบสวน ของเจ้าหน้าที่ตำรวจในการรับมือกับอาชญากรรมคอมพิวเตอร์.กรุงเทพฯ: สำนักงานตำรวจแห่งชาติ.

หทัยชนก พิมพะกุล .(2562). สาเหตุของการตกเป็นเหยื่อในคดีฉ้อโกงซื้อขายออนไลน์. ใน การประชุมวิชาการนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 3 “Graduate School Conference 2019”. หน้า 792-800.

Akers, R L. (1985). Deviant Behavior: A Social Learning Approach (3rd ed.) Belmont, CA: Wadsworth.

Becker, G. S. (1976). The economic approach to human behavior. Chicago: University of Chicago Press.

Cohen, L.E. and Felson, M. (1979). Social Change and Crime Rate Trends: A Routine Activity Approach. American Sociological Review, 4(44), 588–608.

Sutherland, E. H. (1947). Principles of Criminology (4th Ed.). Philadelphia: J. B. Lippincott.

เผยแพร่แล้ว

30-05-2025

How to Cite

มาตรศรี ก. . ., & เทอดอุดมธรรม ธ. . (2025). แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี : กรณีศึกษาการกระทำความผิดฐานฉ้อโกงทางออนไลน์. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 5(3), 76–100. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1945