กลไกความร่วมมือไทย-จีนเชิงนโยบายเกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่ภายใต้บริบท BRI

ผู้แต่ง

  • ศิริลักษม์ ตันตยกุล คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

ชาวจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่, กลไกความร่วมมือเชิงนโยบาย, สมาคมชาวจีน

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องกลไกความร่วมมือไทย-จีนเชิงนโยบายเกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่ภายใต้บริบทข้อริเริ่มแถบเศรษฐกิจและเส้นทางสายไหม (Belt and Road Initiative: BRI) มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษากลไกความร่วมมือเชิงเครือข่ายของชาวจีนโพ้นทะเล/ชาวจีนรุ่นใหม่ในประเทศไทยภายใต้บริบท BRI (2) ศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาคมชาวจีนรุ่นใหม่และภาครัฐของไทย (3) เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนากลไกความร่วมมือในการสร้าง “ประชาเชื่อมใจ” ภายใต้บริบท BRI การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการวิจัยเอกสารและการวิจัยภาคสนาม พบว่า ชาวจีนรุ่นใหม่ที่เข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทยช่วงหลังประเทศจีนปฏิรูปเศรษฐกิจและเปิดประเทศตั้งแต่ปีค.ศ. 1978 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นและมีความสาคัญต่อการค้าการลงทุนภายใต้บริบท BRI โดยชาวจีนรุ่นใหม่ที่แปลงสัญชาติเป็นไทยสามารถเป็นผู้นาในองค์กรสมาคมของชาวจีนที่มีความร่วมมือในเชิงเครือข่าย ผลการศึกษาปฏิสัมพันธ์ระหว่างสมาคมของชาวจีนรุ่นใหม่กับภาครัฐของไทยใน 4 มิติมีการปฏิสัมพันธ์ที่แตกต่างกัน สมาคมของชาวจีนรุ่นใหม่มีปฏิสัมพันธ์สูงมากในด้านเศรษฐกิจ การค้าและการลงทุน มีปฏิสัมพันธ์เชิงสัญลักษณ์ในการสถาปนาเมืองมิตรภาพระหว่างไทย-จีน มีปฏิสัมพันธ์ในระดับปานกลางในด้านการศึกษาและวัฒนธรรม และไม่มีปฏิสัมพันธ์ในประเด็นด้านความมั่นคง

References

อาร์ม ตั้งนิรันดร์. (2562). จีน-เมริกา : จากสงครามการค้า สู่สงครามเทคโนโลยี ถึงสงครามเย็น 2.0. กรุงเทพฯ: Bookscape.

Callahan, A. (2016). China’s “Asia Dream” The Belt Road Initiative and the new regional order. Asian Journal of Comparative Politics, 1 (3), 226-243.

Nukitrangsan, K. (2019). The New Chinese Migrants in Thailand: Mobilities, Roles, and Influences of Sino-Thai Relations. Retrieved November 15, 2022 from http://www.vijaichina.com/sites/default/files/6.2%20Kulnaree%20Nukitrangsan.pdf

Liu, Hong. (1998). Old Linkages, New Networks: The Globalization of Overseas Chinese Voluntary Associations and its Implications. The China Quarterly, 155 (September), 588 – 609.

Wang, Yiwei. (2016). China connects the world: What behind the Belt and Road Initiative. China Intercontinental Press & New World Press.

Zhang, Weiwei. (2011). The China wave: Rise of a civilizational state. New York: World Century. 陈瑞娟.(2016).“一带一路”建设背景下广州开展华侨华人统战工作的思考.广州社会主义学院学报 (02),60-63.

李其荣.(2008).新华侨华人的职业结构及其影响因素———美国与加拿大的比较. 东南亚研究(02),72-79.

魏斌.(2018).华侨华人与“一带一路”战略.天津市社会主义学院学报(04),57-60. 张秀明.(2001).国际移民体系中的中国大陆移民———也谈新移民问题.华侨华人历史研究.第1期.

赵和曼.(2003).美国新华侨华人的若干变化. 八桂侨刊.第1期

张维为. (2019). 这就是中国.上海:上海人民出版社. 庄国土.(2020).21世纪前期海外华侨华人社团发展的特点评析.南洋问题研究(01),55-64.

เผยแพร่แล้ว

11-04-2023

How to Cite

ตันตยกุล ศ. . (2023). กลไกความร่วมมือไทย-จีนเชิงนโยบายเกี่ยวกับชาวจีนโพ้นทะเลรุ่นใหม่ภายใต้บริบท BRI. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 6(1), 88–108. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1857