การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ การดำเนินการเรื่องร้องเรียนของกองตรวจราชการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
คำสำคัญ:
เทคโนโลยี, เรื่องร้องเรียน, ประสิทธิภาพบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งมีชื่อว่า “ระบบรับเรื่องร้องเรียน (e-Petition)” กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นามาใช้ในการดำเนินการเรื่องร้องเรียน ซึ่งผู้วิจัยจะศึกษาขั้นตอน กระบวนการดำเนินการ ปัญหา อุปสรรค ที่ส่งผลต่อการดำเนินงาน เพื่อนามาวิเคราะห์หาแนวทางการแก้ไขปัญหาและปรับปรุงกระบวนการดำเนินงาน รวมถึงข้อเสนอแนะเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องเรียนทางระบบรับเรื่องร้องเรียน (e-Petition) ในการวิจัยนี้มีการคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง โดยกาหนดคุณสมบัติเป็นเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติงานประจำส่วนประสานงานเรื่องร้องเรียน กองตรวจราชการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์การปฏิบัติงานเรื่องร้องเรียน สามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับระบบรับเรื่องร้องเรียน (e-Petition) ในประเด็นที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาได้ จานวน 10 คน ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการวิจัยเอกสาร และรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ แล้วนำข้อมูลมาสังเคราะห์จัดกลุ่มประเด็นเพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการวิจัย ผลการวิจัย พบว่า กระบวนการดำเนินการในการนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมนามาใช้ในการดำเนินการเรื่องร้องเรียนของกองตรวจราชการ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มปัญหา คือ บุคลากร วิธีการและขั้นตอนการปฏิบัติงาน การบริหารจัดการระบบรับเรื่องร้องเรียน (e-Petition) และการรับรู้ข่าวสารของประชาชน ซึ่งส่งผลกระทบต่อประสิทธิภาพการดำเนินการเรื่องร้องเรียน
References
กฎกระทรวง แบ่งส่วนราชการ สำนักงานปลัดกระทรวงกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พ.ศ. 2566. (2566, กุมภาพันธ์ 24). ราชกิจจานุเบกษา,140(13ก), 1 - 8.
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2566). แผนปฏิบัติราชการ ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 - 2570) ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: ผู้แต่ง.
จุฑาทิพย์ ศักดิ์เจริญ. (2564). การพัฒนาประสิทธิภาพการรับเรื่องร้องเรียนผ่านศูนย์บริการประชาชน กรณีศึกษาสำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ชินวัตร พิมพา และอภิรดี วงศ์ศิริ. (2564). การศึกษาประเด็นการร้องเรียนด้านการบริการและการบริหารของหน่วยงานของหน่วยงานภาครัฐของประชาชนผ่านแอปพลิเคชันดารงธรรม Tracking ของศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดขอนแก่น. วารสารจันทเกษมสาร, 27(2), 317.
ชัยยศ สันติวงษ์ และนิตยา เจรียงประเสริฐ. (2546). การบริหารระบบสารสนเทศเชิงกลยุททธ์. กรุงเทพมหานคร: บริษัท ประชุมช่าง จำกัด.
พันธวิทย์ เลิศดี. (2562). ช่องทางในการรับรู้ข่าวสารของประชาชน: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตาบลระแหง อาเภอลาดหลุมแก้ว จังหวัดปทุมธานี. คณะรัฐศาสตร์. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระราชบัญญัติการบริหารงานและการให้บริการภาครัฐผ่านระบบดิจิทัล พ.ศ. 2562. (2562, มิถุนายน 22).ราชกิจจานุเบกษา, 136(67ก), 57 - 66.
วิโรจน์ ก่อสกุล. (2565ก). เอกสารประกอบการการบรรยายกระบวนวิชาการบริหารเชิงกลยุทธ์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
วิโรจน์ ก่อสกุล. (2565ข). เอกสารประกอบการบรรยายกระบวนวิชาระเบียบวิธีวิจัยทางรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง, โครงการรัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต.
ศูนย์ดารงธรรมกระทรวงมหาดไทย. (ม.ป.ป). คู่มือการดำเนินการแก้ไขปัญหาการร้องทุกข์/ร้องเรียน. ค้นเมื่อ 23พฤษภาคม 2566, จาก http://www.damrongdhama.moi.go.th.
ศุภกิต เสนนอก. (2558). การพัฒนาประสิทธิภาพการรับเรื่องราวร้องทุกข์ผ่านศูนย์ดำรงธรรมอาเภอ กรณีศึกษาอำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี. ค้นเมื่อ 20 มิถุนายน 2566 จาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/scaj/article/download/257950/ 175058/971968
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2566). สรุปแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2566 - 2580). ค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2566, จาก http://nscr.nesdc.go.th/wp-content/uploads/2023/03/masterplan_updated2023_080363.pdf.
สมใจ ลักษณะ. (2549). การพัฒนาประสิทธิภาพในการทำงาน (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพ: โรงพิมพ์เพิ่มทรัพย์การพิมพ์.
สรัลชนา ไพสารี. (2564). การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาใช้เพื่อบริการประชาชน : กรณีศึกษาฝ่ายจัดเก็บค่าผ่านทางการทางพิเศษแห่งประเทศไทย. การค้นคว้าอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 สุตาภัทร บังสันเทียะ, ศุภัทรา อำนวยสวัสดิ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.