ภูมิทัศน์ทางการเมืองของนักศึกษาในช่วง พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2564 ว่าด้วยการก่อตัว อุดมการณ์ประชาธิปไตย และวาทกรรมทางการเมือง
คำสำคัญ:
ภูมิทัศน์การเมือง, การก่อตัวทางการเมือง, อุดมการณ์ประชาธิปไตย, วาทกรรมการเมืองบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้เป็นวิจัยเชิงคุณภาพ โดยรวบรวมข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวที่ข้องในช่วงการชุมนุมทางการเมืองของนักศึกษา พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2564 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) เพื่อศึกษาภูมิทัศน์ทางการเมืองของนักศึกษา 2) ปัจจัยทำให้เกิดการก่อตัวให้นักศึกษาออกมาแสดงความคิด ความเห็นทางการเมือง และ 3) อุดมการณ์ประชาธิปไตย และวาทกรรมทางการเมืองของนักศึกษาในช่วง พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2564 ผลการศึกษาพบว่า สถานการณ์ทางการเมืองดังกล่าวมีลักษณะใช้อำนาจในการควบคุมพื้นที่สาธารณะในแสดงออกทางการเมืองของกลุ่มนักศึกษา และการทำกิจกรรมทางการเมืองของนักศึกษา จะถูกควบคุมโดยการดำเนินคดีกับกลุ่มนักศึกษา โดยมี 4 ปัจจัยที่ทำให้เกิดการก่อตัวให้นักศึกษาออกมาแสดงออกทางการเมืองในช่วง พ.ศ. 2557 ถึง พ.ศ. 2564 ได้แก่ ปัจจัยความขัดแย้งทางการเมือง ปัจจัยความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ปัจจัยทางอิทธิพลทางความคิดของนักวิชาการและสถาบันการศึกษา และปัจจัยรากฐานความรู้ด้านประชาธิปไตย ส่วนเรื่องอุดมการณ์ประชาธิปไตยของนักศึกษาในช่วงนี้พบว่า นักศึกษาที่ออกมาแสดงออกทางเมืองต้องการที่จะเห็นการเมืองเป็นประชาธิปไตย ประกอบด้วยหลักสิทธิ หลักเสรีภาพ หลักความเสมอภาค หลักความเท่าเทียม และหลักภราดรภาพ ในส่วนวาทกรรมทางการเมืองของนักศึกษาในช่วงนี้พบว่า นักศึกษาที่ออกมาแสดงออกทางการเมืองได้ผลิตวาทกรรมทางการเมืองขึ้นเพื่อปลุกระดมทางความคิด การรวมกลุ่ม และสร้างแรงจูงในทางปฏิบัติ เช่น “ให้มันจบที่รุ่นเรา” หรือ “เพื่อหยุดระบบเผด็จการที่เกิดขึ้นบนฉากการเมืองไทย”
References
กนกรัตน์ เลิศชูสกุล. (2561). การเติบโต ความถดถอย และการฟื้นตัว ขบวนการนักศึกษาไทย. วารสารพัฒนศาสตร์, 1(1), 130-177.
ชาญวิทย์ เกษตรศิริ. (2544). ประวัติการเมืองไทย 2475 – 2500. กรุงเทพฯ: โครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
ชยุตม์ พันธุ์สุวรรณ. (2561). ขบวนการนักศึกษาหายไปไหน: การเปลี่ยนแปลงของขบวนการนักศึกษาไทยในช่วงความขัดแย้งทางการเมือง พ.ศ. 2549-2557. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ไทยรัฐออนไลน์. (2562ก). นิรโทษกรรม "สุดซอย" หายนะ "เพื่อไทย" ลุงกานัน ปั่นม็อบลุกฮือ ขับไล่ยิ่งลักษณ์. ค้นเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.thairath.co.th/news/politic/1505783
นลินี ทองประเสริฐ. (2555). บทบาทของสังคมออนไลน์ต่อสำนึกทางการเมืองของนิสิตนักศึกษามหาวิทยาลัยในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง. วารสาร มฉก.วิชาการ, 16(31), 65-75.
บีบีซี นิวส์. (2563). 10 ปีสลายการชุมนุมคนเสื้อแดง : สารวจชีวิต “ตัวละครเอก” ของศอฉ. และ นปช. ใน 5 ฉากสำคัญการเมืองไทย. ค้นเมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2566, จาก https://www.bbc.com/thai/thailand-52676263
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์. (2563). ทบทวนประวัติศาสตร์ อ่านข้อเรียกร้อง “ม็อบนักศึกษา” จากอดีตถึงปัจจุบัน. ค้นเมื่อวันที่ 8 กันยายน 2564,จาก https://www.prachachat.net/d-life/news-528775
ผู้จัดการออนไลน์. (2563). แนวรบด้าน Social Media รัฐเป็นรองคนรุ่นใหม่. ค้นเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2564, จาก https://shorturl.asia/BDuGt
พระครูเกษมวัชรดิตถ์ และคณะ. (2565). การสื่อสารทางการเมืองกับวาทกรรมทางการเมืองในสังคมไทย. วารสารรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย 2(5), 99–101.
ภาคิไนย์ ชมสินทรัพย์มั่น. (2554). ขบวนการนักศึกษาไทย : วิเคราะห์ความเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาไทยในเมืองช่วงระหว่าง 6 ตุลาคม ตุลาคม 2519 ถึงปี พ.ศ.2531. วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
รณันธร พลชาติ. (2558). การใช้สื่อทางสังคม: เฟซบุ๊คในการดำเนินการทางการเมืองไทย. ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ศุภัทรา อานวยสวัสดิ์. (2563). พฤติกรรมทางการเมือง. กรุงเทพฯ: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศิลปวัฒนธรรม. (2565). ประวัติศาสตร์เกิดอะไรใน “14 ตุลา” ก่อนมาสู่ชัยชนะสาคัญของประชาชนลุกฮือต้าน “คณาธิปไตย”. ค้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.silpa-mag.com/history/article_40175
ศิลปวัฒนธรรม. (2560). วันนี้ในอดีต 14 ตุลาคม 2516 รัฐบาลทหารใช้กำลังสลายผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย แต่สุดท้ายสิ้นอำนาจ. ค้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565, จาก https://shorturl.asia/RF7ZY
สมชัย แสนภูมี. (2562 ). นักศึกษากับการเคลื่อนไหวทางการเมืองในวันครบรอบ 1 ปี การทำรัฐประหารของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา. มนุษยศาสตร์, สังคมศาสตร์, และศิลปะศาสตร์, 12(1), 1089-1106.
แอมเนสตี้อินเตอร์แนชั่นแนลไทยแลนด์. (2564). สิทธิมนุษยชนถูกละเมิดอย่างไรใน 6 ตุลา. ค้นเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2565, จาก https://www.amnesty.or.th/latest/blog/919/
Foucault, M. (1982). The archaeology of knowledge: and the discourse on language. New York: Vintage.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
License
Copyright (c) 2025 วิทวัส ไกรสวัสดิ์

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.