นโยบายสวัสดิการสังคมของรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย

ผู้แต่ง

  • นพมาศ รัตนะ นักศึกษาโครงการปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาการเมือง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

สวัสดิการสังคม, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย, นโยบายภาครัฐ

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาพัฒนาการสวัสดิการสังคมของรัฐตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยนับตั้งแต่เปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน และ (2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบสวัสดิการสังคมภาครัฐตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540, 2550 และ 2560 โดยการวิจัยนี้ใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ และเก็บข้อมูลด้วยการวิจัยเอกสาร ผลการวิจัยพบว่า ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ. 2475 ภาครัฐมุ่งสร้างสวัสดิการขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพให้กับประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน โดย ถือเป็นจุดเริ่มต้นในการมุ่งเน้นให้ประชาชนได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีตามสิทธิที่พึงจะได้รับ แต่การขาดเสถียรภาพทางการเมืองในช่วง พ.ศ. 2475-2500 ทำให้การจัดสวัสดิการให้แก่ประชาชนสะดุด ไม่สามารถถูกนำไปดำเนินการได้อย่างต่อเนื่อง ดังนั้น ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นเครื่องมือกำหนดโครงสร้างของรัฐแล้ว ยังเป็นหลักประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนอีกด้วยนั้น เมื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้รับการรับรองในรัฐธรรมนูญอย่างครอบคลุมและมีพระราชบัญญัติกำหนดขั้นตอนทางปฏิบัติก็จะทาให้ระบบกฎหมายของภาครัฐสามารถคุ้มครองประชาชนได้เต็มศักยภาพ กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่มีไว้เพื่อรับรองและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพให้แก่ประชาชน ตลอดจนถึงผลประโยชน์ของประชาชนอีกด้วยนั้น ซึ่งในรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2560 ก็รับรองหลักความเสมอภาคห้ามเลือกปฏิบัติ และรับรองสิทธิเสรีภาพไว้หลายประการ แต่ถึงอย่างไรก็ยังขาดความชัดเจนในบางประเด็น เต็มไปด้วยข้อจากัดมากมาย และมีรายละเอียดหลายประการที่ถูกทำให้เปลี่ยนแปลงไปจากรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2540 และ 2550 ดังนั้น หากเรามองว่า “สวัสดิการสังคม” เป็นพื้นฐานที่ประชาชนทุกคนมีสิทธิต้องได้รับการคุ้มครองจากภาครัฐ รวมทั้งการออกแบบให้มีโครงสร้างด้านสวัสดิการสังคมไว้ในรัฐธรรมนูญได้นั้นจะเป็นหนทางที่จะสร้างหลักประกันด้านคุณภาพชีวิตของประชาชนที่เป็นรูปธรรมที่สุด แต่ทางเลือกของสวัสดิการสังคมที่ดีขึ้นอย่างทัดเทียมกันและถ้วนหน้าย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ดังนั้น การหาแหล่งรายได้เพื่อมาสนับสนุนสวัสดิการสังคมนั้นรัฐอาจทำได้โดยการลดด้านรายจ่ายหรือการเพิ่มด้านรายได้ให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงจะสามารถตอบสนองการจัดสวัสดิการสังคมให้กับประชาชนได้อย่างสมบูรณ์ที่สุด

References

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. (2557). หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.

ฉัตรทิพย์ นาถสุภา. (2516). ลำดับขั้นของการพัฒนาการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

ชาติชาย มุกสง. (2554). นโยบายประชานิยม. ค้นเมื่อ 22 เมษายน 2566, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php? title=นโยบายประชานิยม

ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ และคณะ. (2546). บทสังเคราะห์ภาพรวมการพัฒนาระบบสวัสดิการสาหรับคนจนและคนด้อยโอกาสในสังคมไทย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาเศรษฐศาสตร์การเมืองจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ระพีพรรณ คาหอม. (2554). สวัสดิการสังคมกับสังคมไทย (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์พริกหวานกราฟฟิค.

วิษณุ เครืองาม. (2535). ระบบกฎหมายแองโกล-อเมริกัน ในระบบกฎหมายไทยและต่างประเทศ (หน่วยที่ 1-7, พิมพ์ครั้งที่ 2). นนทบุรี: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). รายงานผลการวิจัยกลยุทธ์การสร้างความเข็มแข็งของเครือข่ายผู้สูงอายุของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ขอนแก่น: สำนักพิมพ์ศิริภัณฑ์.

อภิญญา เวชยชัย. (2546). การพัฒนาระบบสวัสดิการสาหรับคนจนและคนด้อยโอกาส: กลุ่มคนจนผู้ด้อยโอกาสและกลุ่มเสี่ยงที่ประสบปัญหาทางสังคม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อาภา วรรณฉวี. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นโดยบูรณาการความรู้และการจัดการแบบมีส่วนร่วมของคณาจารย์ นักศึกษา ชุมชน และองค์กรภาคีเครือข่าย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

Sapru, R. K. (2013). Administrative theories and management thought, (3rd ed.). PHI Learning Pvt. Scott, J. (1990). A matter of record, documentary sources in social research. Cambridge, MA: Polity Press.

เผยแพร่แล้ว

16-08-2023

How to Cite

รัตนะ น. . (2023). นโยบายสวัสดิการสังคมของรัฐภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 6(2), 185–213. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1834