บทบาททางการเมืองของพรรคการเมืองขนาดเล็กตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

ผู้แต่ง

  • สรณัฐ จันทร์ภิวัฒน์ นักศึกษา หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต คณะรัฐศาสตร์ สาขาวิชาการเมือง มหาวิทยาลัยรามคำแหง

คำสำคัญ:

บทบาททางการเมือง, พรรคการเมืองขนาดเล็ก, รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพทาการรวบรวมข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก ประกอบกับการค้นคว้าจากเอกสารทางวิชาการต่างๆ ทั้งนี้ ผลจากการศึกษาได้พบประเด็นสาคัญ ดังนี้ (1) ปัจจัยที่ทาให้เกิดพรรคการเมืองขนาดเล็กตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คือ ระบบการเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสมที่ถูกกาหนดขึ้นตามบทบัญญัติมาตรา 91 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 และมาตรา 45 (หมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย) ประกอบกัน ทาให้การจัดตั้งพรรคการเมืองของไทยเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว (2) บทบาทของพรรคการเมืองขนาดเล็กตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 พบว่า มี 3 ประการด้วยกัน คือ (2.1) บทบาทของพรรคการเมืองขนาดเล็กในการจัดตั้งรัฐบาล (2.2) บทบาทของพรรคการเมืองขนาดเล็กในสภาผู้แทนราษฎรด้านกระบวนการนิติบัญญัติ และ (2.3) บทบาทของพรรคการเมืองขนาดเล็กในการสนับสนุนรัฐบาลให้มีความมั่นคง เสียงของพรรคการเมืองขนาดเล็กจะเป็นตัวแปรสาคัญที่จะช่วยให้รัฐบาลผ่านวิกฤตการณ์ต่างๆ ในทางการเมือง และ (3) การสร้างอานาจ ข้อจากัด และความสาเร็จของพรรคการเมืองขนาดเล็กในสังคมไทยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
ผลการศึกษาพบว่า เกิดขึ้นจากการที่ได้เข้ามาเป็นพรรคร่วมรัฐบาล ทาให้มีอานาจในการต่อรองเพื่อเข้าทาหน้าที่สาคัญทางการเมืองผ่านกลไกของรัฐสภา พรรคการเมืองขนาดเล็กในสภาผู้แทนราษฎร มีจานวนสมาชิกจานวนน้อย ต้องอาศัยการสนับสนุนจากพรรคขนาดเล็กด้วยกัน หรือการสนับสนุนจากพรรคการเมืองขนาดกลาง หรือขนาดใหญ่ สาหรับปัจจัยที่เอื้อต่อความสาเร็จ ก็คือ การเกิดขึ้นของพรรคการเมืองขนาดเล็กที่มาจากการรวมตัวของกลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มเฉพาะ หรือกลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอุดมการณ์

References

นครินทร์ เมฆไตรรัตน์. (2564). การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 25 วันที่ 23 ธันวาคม 2550. ค้นเมื่อ 20 พฤษภาคม 2565, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร_ครั้งที่_25_วันที่_23_ธันวาคม_2550

นรนิติ เศรษฐบุตร. (2550). รัฐธรรมนูญกับการเมืองไทย. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2550). แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สถาบันพระปกเกล้า. (2565). พิศพรรคการเมืองหลากมุมมองหลายประเทศ. กรุงเทพมหานคร: สานักพิมพ์เอ พี กราฟฟิค ดีไซน์.

ไอลอว์. (2561). เลือกตั้ง 62: ระบบนับที่นั่ง MMA ทาพรรคใหญ่แตกตัว พรรคเล็กเกิดไม่ได้. ค้นเมื่อ 28 มกราคม 2565, จาก ttps://ilaw.or.th/node /5059 Kaya, S. (2021). Evaluate the view that minor parties have little impact on British polities. Retrieved February 2, 2030, from http://www.alevelpotitics.com

เผยแพร่แล้ว

16-08-2023

How to Cite

จันทร์ภิวัฒน์ ส. . (2023). บทบาททางการเมืองของพรรคการเมืองขนาดเล็กตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. วารสารรามคำแหง ฉบับรัฐประศาสนศาสตร์, 6(2), 130–160. สืบค้น จาก https://so16.tci-thaijo.org/index.php/RJPA/article/view/1832